Call now
+66858369994
Messenger
Line
Email
[email protected]

Hair Transplant in Bangkok, Thailand
+66858369994
Dr.Prima's Blog

บทความคุณหมอพรีมา

ยาปลูกผมกับการปลูกผม

ยาปลูกผม กับ การปลูกผม คนละเรื่องเดียวกัน

ยาปลูกผม

เร็วๆ นี้หมอเจอคำถามนึงจากคนไข้ ซึ่งคิดว่าน่าสนใจมาก เลยอยากจะเอามาแชร์ต่อ คนไข้ถามว่า…

ผมที่ปลูกจะอยู่อย่างถาวร แล้วทำไมต้องให้กินยาปลูกผมอีกล่ะ

จริงๆ การทานยาปลูกผมเนี่ยไม่ได้ช่วยให้ตรงบริเวณที่หัวล้านไปแล้วกลับมามีผมขึ้นใหม่ดกดำหรอกนะคะ เพราะบริเวณนั้นไม่มีรากผมให้บำรุงแล้ว เราจึงต้องแก้ไขด้วยวิธีการปลูกผม ดังนั้น การทานยาหรือไม่ทานก็ไม่ได้มีผลกับผมที่เราปลูก เพราะเป็นผมถาวรอยู่แล้ว แต่ที่หมอแนะนำให้ทานยา มันเป็นเพราะว่าผมธรรมชาติในบริเวณที่เราไม่ได้ปลูกจะยังคงร่วงได้อีก สืบเนื่องมาจากฮอร์โมน หรือกรรมพันธุ์นั่นเอง ผมธรรมชาติหลังแนวที่เราปลูกก็จะบางแล้วล้านไปในที่สุด ดูไม่เท่ห์เอาซะเลยใช่มั้ยล่ะคะ

ผลลัพธ์กินยาปลูกผม

ยาปลูกผมมีกี่ชนิด

ยาที่นำมาใช้สำหรับการรักษาผมร่วงผมบางหลักๆ แล้วจะมีอยู่ 2 ชนิดได้แก่

  • ฟีแนสเตอร์ไรด์ (Finasteride)

เป็นยาที่ไปช่วยยับยั้งฮอร์โมนเพศชายที่ชื่อว่า DHT ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดผมร่วงตามกรรมพันธ์ุ จะช่วยให้ผมที่เส้นบางลงกลับมาเส้นใหญ่ขึ้น รวมถึงยับยั้งการร่วงของเส้นผมด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เหรียญมีสองด้านเสมอ ตัวยา Finasteride นั้นจะใช้ได้ผลในผู้ชายและยังมีผลข้างเคียง เช่น ประมาณ 2% ของผู้ที่ทานยา Finasteride จะมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

  • ไมน๊อกซิดิล (Minoxidil)

เดิมที ไมน๊อกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง มีกลไกการทำงานคือช่วยขยายหลอดเลือดเพื่อให้ความดันโลหิตลดลง แต่ผลข้างเคียงที่เกิดจากยาก็คือ เมื่อทานยาไประยะหนึ่งจะทำให้ผมหรือขนตามร่างกายหนาขึ้น สาเหตุก็เพราะเมื่อเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น รากผมจึงได้รับสารอาหารมากขึ้นไปด้วย ผลข้างเคียงที่ว่านี้เลยกลายเป็นประโยชน์ที่นำมาใช้ในการรักษาภาวะผมร่วงผมบาง เพียงแต่ปริมาณยา (Dosage) ที่ใช้จะน้อยกว่า เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ กับผู้ใช้นั่นเอง

ยาปลูกผมทานติดต่อกันเป็นเวลานานได้มั้ย

ทีนี้ก็จะมีคำถามต่ออีกว่า ถ้าทานยาปลูกผมติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี จะมีผลข้างเคียงอะไรกับร่างกายมั้ย โดยเฉพาะเรื่องที่คนไข้หลายคนกังวลว่าสมรรถภาพทางเพศจะลดลง จริงๆ แล้วเกิดขึ้นได้เพียง 2% เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำมากๆ แล้วจะส่งผลต่อตับรึเปล่า ก็นิดหน่อยค่ะ อยู่ในระดับที่ไม่อันตราย ยาปลูกผมจะไม่สะสมในตับ ร่างกายจะขับทิ้งไปเองอยู่แล้ว ถ้าคนไข้มีโอกาสไปตรวจร่างกายประจำปีแล้วพบว่าค่าการทำงานของตับอยู่ในระดับปกติก็ไม่มีปัญหาอะไรค่ะ สามารถทานยาต่อเนื่องได้เลย

ที่ Hairsmith Clinic หมอแถมยาทานหลังปลูกผมให้ตลอด 1 ปีเต็ม ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม คุ้มยิ่งกว่าคุ้มเสียอีก เรียกว่าดูแลกันไปตลอดจนกว่าผมจะขึ้นเต็มที่เลยค่ะ

อ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่นี่!

Prima Tossaborvorn

ผู้เขียน

พญ. พรีมา ทศบวร คือแพทย์ผิวหนังและศัลยกรรมปลูกผมที่รับรองโดย American Board of Hair Restoration Surgery (ABHRS) และเป็นสมาชิกของ International Society of Hair Restoration Surgery (ISHRS) ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ Hairsmith Clinic ซึ่งเป็นคลินิกศัลยกรรมปลูกผมและรักษาโรคเกี่ยวกับเส้นผม

ดูบทความทั้งหมด
Comments
Pu 22 hours ago
2 พฤศจิกายน 2020

บริเวณท้ายทอยที่ถูกย้ายไปปลูกส่วนอื่นของศรีษะ ส่วนทายทอยจะมีผมขึ้นอีกมั้ยค่ะ?

Reply
Prima Tossaborvorn 18 hours ago
2 พฤศจิกายน 2020

เวลาย้าย หมอจะย้ายทั้งรากผมเลย มันจะไม่ขึ้นที่ด้านหลังแล้ว แต่จะไปขึ้นในบริเวณที่ปลูกแทนค่ะ แต่ไม่ต้องกังวลว่าด้านหลังศีรษะจะบางนะคะ เพราะเวลาหมอเอาผมออก จะเลือกเอาออกแบบกระจายๆ ไม่กระจุกตัวจนทำให้บางเป็นจุดๆ หลังปลูกเสร็จแล้ว ผมด้านหลังจะไม่ดูบางลงค่ะ นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่ประสบการณ์ของแพทย์มีส่วนสำคัญมากๆ ค่ะ

คุณคิดอย่างไรบ้าง

FREE CONSULTATION WITH OUR ABHRS-CERTIFIED SURGEON

Grow confidence with us!