Call now
+66858369994
Messenger
Line
Email
[email protected]

Hair Transplant in Bangkok, Thailand
+66858369994
Dr.Prima's Blog

บทความคุณหมอพรีมา

ซื้อยาปลูกผมมากินเองได้มั้ย

ซื้อยาปลูกผมมากินเองได้มั้ย

ยาปลูกผม

เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ดูจะเข้าถึง ยาปลูกผม ได้ง่ายมากขึ้น สังเกตจากการที่มีวิตามินและยาปลูกผมแบรนด์ต่างๆ ที่วางขายกันอย่างแพร่หลายตามห้างหรือร้านยาทั่วไป แล้วในความเป็นจริงล่ะ คนทั่วไปสามารถซื้อยาปลูกผมมากินเองได้มั้ยนะ จะมีอันตรายหรือผลข้างเคียงอะไรหรือเปล่า วันนี้เรามาดูกัน

ยาปลูกผมมีกี่แบบ

ยาปลูกผมที่ผ่านการรับรองแล้วในตอนนี้ หลักๆ มีด้วยกันทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน ได้แก่

ยาปลูกผม

ฟีนาสเทอร์ไรด์ (Finasteride)

เป็นยากินแก้ผมร่วง ผมบาง เป็นยาแก้ผมร่วงที่ใช้ได้ในเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ซึ่งยาตัวนี้จะทำงานโดยการลดอัตราการเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ให้เป็น DHT ที่เป็นสาเหตุของอาการผมร่วง ไม่สามารถใช้ในผู้หญิงได้ เพราะมีผลข้างเคียงมากและไม่เห็นผล ซึ่งในการใช้ยาจะเริ่มเห็นผลเมื่อใช้ 4-6 เดือนขึ้นไป แต่เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนเมื่อใช้ 1 ปีขึ้นไป

ข้อดี

ยาตัวนี้จะเข้าไปลดฮอร์โมน DHT ได้ถึง 60% ทำให้ผมงอกใหม่ได้ดีขึ้น การหลุดร่วงน้อยลง ทั้งนี้สามารถใช้กับผู้ที่ปลูกผมมาก่อนได้ เพราะจะทำให้ผมดูเยอะ และหนาขึ้นในระยะยาว

ข้อเสีย

ในบรรดาผู้ใช้ยาไฟแนสเตอรายด์ในการรักษา มี 2-3% ที่อาจมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปริมาณน้ำอสุจิลดลงได้

ไมนอกซิดิล (Minoxidil)

ยาไมนอกซิดิลส่วนมากมักใช้เพื่อรักษาการผมร่วงจากกรรมพันธุ์ โดยยาจะเข้าไปขยายหลอดเลือด ให้เลือดไปเลี้ยงรากผมได้ดียิ่งขึ้น เป็นยาที่ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่เป็นยาเพียงชนิดเดียว ที่ใช้สำหรับรักษาผมร่วงในผู้หญิงและได้ผลดีที่สุด มีทั้งชนิดกิน และทาเฉพาะจุด

ข้อดี

ช่วยกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม ทำให้ผมไม่หลุดร่วงง่ายและทำให้ผมมีวงจรอายุที่ยาวขึ้น

ข้อเสีย

แบบกิน – อาจมีอาการบวมที่ใบหน้า แขน ขา เวียนหัว หัวใจเต้นเร็ว บางรายอาจมีขนขึ้นที่ใบหูได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน หรือแยกกันก็ได้ค่ะ

แบบทา – เนื่องจากยาแบบทานั้น จะมีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ด้วย ทำให้มีอาการผิวแห้งในปริเวณที่ทา จึงอาจทำให้มีอาการคันร่วม หรือบางรายอาจแพ้ตัวยาและเกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน

ใครควรทานยาปลูกผม

คนที่กินยาปลูกผม ควรเป็นผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางในระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง ไม่ว่าจะด้วยอาการเจ็บป่วย ผมร่วงจากฮอร์โมนเพศ หรือกรรมพันธุ์ก็ตาม หากยังมีรากผมที่สามารถงอกได้อยู่ก็สามารถใช้ยาปลูกผมได้ค่ะ

hair loss

ยาปลูกผม ไม่เหมาะกับใคร

  1. ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผมบาง หรือหัวล้านในระดับกลางไปจนถึงรุนแรง แต่จะต้องใช้วิธีรักษาแบบอื่นแทน เช่น การปลูกผม
  2. ไม่เหมาะกับผู้ที่เซลล์ผมเสื่อมสภาพ เซลล์รากผมตาย หรือไม่มีเซลล์รากผมที่สามารถงอกใหม่ได้แล้ว เพราะการกินยาปลูกผมทั้งๆ ที่ไม่มีเซลล์รากผมนั้นนอกจากจะไม่ส่งผลในแง่ของการรักษาใดๆ ยังอาจจะเสี่ยงกับการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่จำเป็นอีกด้วย
  3. ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการปลูกผม ในช่วงระยะเวลา 7 วัน
  4. ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะยาปลูกผมส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์ได้ค่ะ
baldness

ระวัง! ยาปลูกผมปลอม

สิ่งที่น่ากลัวและอาจจะอันตรายกว่าผลข้างเคียงของยาปลูกผม นั่นคือยาปลูกผมปลอมนั่นเอง นั่นเพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ในผลิตภัณฑ์ที่เราซื้อมานั้น มีตัวยาหรือสารอันตรายใดๆ เจือปนอยู่บ้าง ถึงแม้จะมีหลายแบรนด์ที่เคลมว่าปลอดภัยได้มาตรฐาน อย. แต่สมัยนี้การสวม อย. ปลอมก็มีอยู่กราดเกลื่อนทั่วไปหมด ทางที่ดีหากเราต้องการรักษาผมร่วง ผมบางจริงๆ ควรซื้อจากที่ที่ไว้ใจได้ หรือเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการวิเคราะห์อาการ และแก้ปัญหาผมของเราได้อย่างถูกจุดจะดีกว่าค่ะ

ผลลัพธ์หลังทานยาปลูกผม

สรุปยาปลูกผม

ยาปลูกผมสามารถซื้อมาทานเองได้ค่ะ แต่อาจไม่ได้ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะตัวยาแต่ละชนิดมีข้อจำกัดในการใช้ และปริมาณตัวยาที่ใช้ได้ต่างกัน รวมไปถึงอาการข้างเคียง หรืออาการแพ้ไม่พึงประสงค์ของแต่ละคน ซึ่งจะสามารถคาดการณ์การรักษาได้ด้วยดุลยพินิจและความชำนาญของแพทย์ ทั้งนี้ยาปลูกผมนั้นเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางในระยะเริ่มต้นที่ยังมีเซลล์รากผมเหลืออยู่เท่านั้น และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่หัวล้านในระยะกลางขึ้นไป ซึ่งอาจจะต้องทำการรักษาด้วยปลูกผมแทน และสตรีมีครรภ์ ที่ตัวยาอาจจะส่งผลต่อเด็กในท้อง สุดท้ายคือต้องไม่ลืมว่ายาปลูกผมปลอมนั้นมีอยู่มากกมายตามท้องตลาด ควรระวังในการเลือกซื้อให้ดี แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

Prima Tossaborvorn

ผู้เขียน

พญ. พรีมา ทศบวร คือแพทย์ผิวหนังและศัลยกรรมปลูกผมที่รับรองโดย American Board of Hair Restoration Surgery (ABHRS) และเป็นสมาชิกของ International Society of Hair Restoration Surgery (ISHRS) ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ Hairsmith Clinic ซึ่งเป็นคลินิกศัลยกรรมปลูกผมและรักษาโรคเกี่ยวกับเส้นผม

ดูบทความทั้งหมด

คุณคิดอย่างไรบ้าง

FREE CONSULTATION WITH OUR ABHRS-CERTIFIED SURGEON

Grow confidence with us!