ปลูกผมทั้งทีก็ต้องปลูกให้เยอะเข้าไว้…จริงหรอ? ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปลูกผมอีกหนึ่งข้อที่คนทั่วไปมักไม่รู้ ก็คือเรื่องเกี่ยวกับจำนวนการปลูกผมนี่แหละค่ะ เพราะที่จริงแล้วจำนวนโควตาของเส้นผมที่สามารถปลูกได้นั้น มีจำกัดในแต่ละบุคคลอยู่เช่นกัน แล้วอะไรคือปัจจัยของการกำหนดโควตานั้น หมอจะมาบอกให้รู้เองค่ะ
กราฟท์ผมคืออะไร
กราฟท์ (Graft) หรือ กอผม

เป็นศัพท์ที่นิยมใช้ในกระบวนการปลูกผมสำหรับเรียกกอผม ที่แพทย์ได้ทำการเจาะออกมาจากบริเวณด้านหลังหรือด้านข้างของศีรษะ (Donor area) และต้องเป็นบริเวณที่ไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT ตัวการที่ทำให้ผมบางหัวล้านด้วย โดยใน 1 กราฟท์ผมจะมีเส้นผมอยู่ได้ 1-4 เส้นเป็นปกติคละกันไป ซึ่งในการปลูกผมนั้น การประเมินจำนวนกราฟท์ผม จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่แพทย์จะใช้พิจารณาปลูกผมให้คนไข้ และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด ขั้นตอนนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะทาง ที่สำคัญไม่แพ้กระบวนการอื่นๆ ของการปลูกผมเลยล่ะค่ะ
กราฟท์ผมกับความหนาแน่นต่อพื้นที่
เพราะการปลูกผมไม่ใช่การไปกินบุฟเฟต์ที่ยิ่งกินเยอะยิ่งคุ้ม แต่คือการประเมินโดยความเชี่ยวชาญของแพทย์ ที่จะทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นดูเป็นธรรมชาติที่สุด ความหนาแน่นโดยทั่วไปที่แพทย์ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมิน จึงอยู่ที่ 30-50 กราฟท์ต่อตารางเซนติเมตรแล้วแต่พื้นที่ แต่ที่ Hairsmith clinic จะปลูกผมอยู่ที่ความหนาแน่น 45-50 กราฟท์ต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งมากกว่ามาตรฐานที่สมาคมศัลยกรรมนานาชาติ (ISHRS) ตั้งเอาไว้ที่ 40 กราฟท์ต่อตารางเซนติเมตร เพื่อความสวยงามและให้ผมที่ดูหนาแน่นเป็นธรรมชาตินั่นเอง
แล้วในคนไข้คนหนึ่งสามารถปลูกผมได้มากสุดกี่กราฟท์กันนะ?
คำตอบขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของแส้นผมของคนไข้แต่ละคน หากเป็นคนที่บริเวณ Donor area สมบูรณ์ คือมีผมเยอะ ดกหนา ในการปลูกผมแบบ FUE สามารถเจาะกราฟท์ออกมาได้ทั้งหมด 5,000-6,000 กราฟท์ และปลูกได้สูงสุดถึง 3,000-3,500 กราฟท์ ต่อ 1 ครั้งเท่านั้น เนื่องจากเป็นจำนวนกราฟท์ที่ใช้ระยะเวลาการปลูกไม่นานเกินไป หากปลูกเยอะกว่านี้จะยิ่งใช้เวลานาน ทำให้รากผมอยู่นอกร่างกายนานเกินจำเป็น อัตราการรอดของกราฟท์ผมก็ลดลงอีกด้วย

ปลูกผมน้อยไปเป็นอะไรมั้ย
ในกรณีที่คลินิกที่ไปใช้บริการปลูกผมประเมินให้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อปลูกผมไปแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ออกมา จะทำให้ผมดูบางไม่ต่างกับคนผมบางทั่วไป หรือถ้าตอนปลูกผมไม่ได้กระจายกราฟท์ผมอย่างพอดี ก็อาจทำให้ผมที่ปลูกขึ้นมาดูเป็นหย่อม ไม่สวยเป็นธรรมชาติอย่างที่คาดหวังไว้
ปลูกผมมากเกินไปดีหรือไม่
เคสที่ถูกประเมินผมมากเกินไป ก็ถือว่าน่ากลัวไม่ต่างกัน หรือเผลอๆ จะน่ากลัวมากกว่าด้วยซ้ำ ด้วยความที่ว่าเราไม่สามารถปลูกผมซ้ำได้เรื่อยๆ เพราะการปลูกผมคือการย้ายเอาเส้นผมจากอีกที่หนึ่งไปปลูกยังอีกที่หนึ่ง ไม่ใช่การปลูกจากเมล็ดเหมือนกับต้นไม้ ทำให้ทรัพยากรเส้นผมของเรามีจำกัด และข้อเสียของการเจาะเอาเส้นผมออกมามากเกินไป (Over-harvesting) ก็จะทำให้ผมบริเวณ Donor area บางลง ยิ่งถ้าคนทำหน้าที่เจาะกราฟท์ผม ไม่มีประสบการณ์ หรือกระจายการเจาะได้ไม่ดี (Poor Distribution) ก็จะยิ่งทำให้ผมจากบริเวณที่ถูกเจาะบางเป็นหย่อมๆ ได้เลย ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นสามารถทำได้ยากมากๆ และคนไข้อาจจะต้องไว้ผมให้ยาวเพื่อปิดเอาไว้ หรือต้องไปสักอณูสีเพื่อช่วยแทน สำหรับในส่วนของบริเวณที่ได้รับการปลูกผมที่มากเกินไปนั้น จะทำให้ผมใหม่ที่ได้ดูไม่เป็นธรรมชาติ เพราะความหนาแน่นที่ดูต่างจากผมปกติของคนไข้นั่นเองค่ะ
สรุป
กราฟท์ (Graft) หรือ กอผม เป็นศัพท์สำหรับเรียกกอผมที่แพทย์ได้ทำการเจาะออกมาจากบริเวณ Donor area ใน 1 กราฟท์ผมจะมีเส้นผมอยู่ได้ 1-4 เส้นคละกันไป การประเมินจำนวนกราฟท์เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กระบวนการอื่นๆ ของการปลูกผม ซึ่งความหนาแน่นที่ Hairsmith clinic ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินให้คนไข้ อยู่ที่ 45-50 กราฟท์ต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งมากกว่ามาตรฐานที่สมาคมศัลยกรรมนานาชาติกำหนดไว้ที่ 40 กราฟท์ต่อตารางเซนติเมตร
ในคนไข้คนหนึ่งสามารถปลูกผมได้มากสุดที่ 3,000-3,500 กราฟท์ ต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของ Donor area ซึ่งถ้าหากคนไข้ถูกประเมินผมให้น้อยเกินไป หลังจากปลูกเสร็จก็จะยังทำให้ผมดูบางไม่ต่างกับก่อนปลูก หรือถ้าหากถูกประเมินมากเกินไป ก็จะทำให้ในส่วนของ Donor area บางลงได้
ยิ่งถ้าคนที่ทำหน้าที่เจาะกราฟท์ ไม่มีความชำนาญหรือเจาะได้ไม่กระจายมากเพียงพอ ก็จะทำให้ผมด้านหลังดูบางเป็นหย่อมๆ และคนไข้อาจจะต้องไว้ผมให้ยาวเพื่อปิดเอาไว้ หรือต้องไปสักอณูสีเพื่อช่วยปกปิดร่องรอยดังกล่าวค่ะ