ผมร่วงกับภาวะซึมเศร้าเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ผมร่วงกับภาวะซึมเศร้าเกี่ยวข้องกันอย่างไร_1

ในปัจจุบัน “โรคซึมเศร้า” ไม่ใช่โรคที่ไกลตัวอีกต่อไป เพราะด้วยปัจจัยภายในและภายนอกอย่างสถานการณ์บ้านเมือง เศรษฐกิจ ไปจนถึงเรื่องราวเลวร้ายที่กระทบจิตใจ ก็สามารถส่งผลให้ไม่ว่าใครก็เป็นโรคนี้ได้ วันนี้หมอเลยจะมาเขียนถึงความเชื่อมโยงกันของโรคซึมเศร้าและภาวะผมร่วง ว่าทั้ง 2 ปัญหานี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร และเราจะก้าวข้ามผ่านทั้ง 2 ภาวะเจ้าปัญหานี้ไปได้อย่างไร มาเริ่มกันเลยค่ะ

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้า (Depression) คือ ความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมอง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงในด้านของอารมณ์จนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจะมีอาการเศร้าหมอง หดหู่ มองโลกในแง่ร้าย ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ไปจนถึงการอยากฆ่าตัวตาย

อาการของโรค – อาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มักเป็นอาการที่ปรากฏตามข้อต่างๆ ที่ยกมาและอาจพบการแสดงอาการอื่นๆ เพิ่มเติมได้เช่นกัน

  1. รู้สึกเบื่อหน่ายจนไม่อยากทำอะไร
  2. ซึม เศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง
  3. มีปัญหานอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากผิดปกติ
  4. ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง เหนื่อยง่าย
  5. รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า มองโลกในแง่ลบ
  6. ใจลอย ไม่มีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่กำลังทำ
  7. เฉื่อยชา เชื่องช้า หรืออยู่ไม่สุข กระสับกระส่าย
  8. คิดทำร้ายตัวเอง ไปจนถึงอยากฆ่าตัวตาย

วิธีสังเกตอาการต่างๆ ของผู้ป่วย จะต้องมีอาการในข้อที่ 1 หรือ 2 อย่างใดอย่างหนึ่ง และมีอาการร่วมในข้อ 3-8 อย่างน้อย 5 อาการ โดยมีการแสดงอาการเกือบตลอดเวลา เกือบทุกวัน ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า คลิกเลย!

ผมร่วงกับภาวะซึมเศร้าเกี่ยวข้องกันอย่างไร_2

สาเหตุของโรค

ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดในการเกิดโรค แต่จากการคาดการณ์โดยแพทย์ วิเคราะห์ได้ว่าอาจเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้

  1. กรรมพันธุ์ – หากผู้ป่วยมีญาติพี่น้องใกล้ชิดที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่แล้ว จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไป 2-3 เท่าเลยทีเดียว
  2. สารเคมีในสมอง – เกิดจากการหลั่งสารเคมีในสมองและสื่อนำประสาททำงานผิดปกติ โดยสารเคมีในสมองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าได้แก่ อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ซีโรโทนิน (Serotonin) นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และโดพามีน (Dopamine)
  3. ปัจจัยทางจิตสังคม – เช่น การเลี้ยงดู ลักษณะนิสัย สิ่งแวดล้อม การเครียดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจากปัจจัยที่กล่าวมา หากเป็นสาเหตุที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการซึมเศร้า แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมก็อาจจะนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้

วิธีรักษา

การรักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบันมีทั้งหมดด้วยกัน 3 วิธี ได้แก่

  1. การรักษาด้วยยา เพื่อปรับสารเคมีในสมองให้กลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  2. การรักษาจิตใจ ด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองมากขึ้น
  3. การรักษาด้วยไฟฟ้า วิธีนี้จะใช้รักษาเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงตามดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น

สาเหตุผมร่วงที่เกิดจากโรคซึมเศร้า

เมื่อสมองและจิตใจต้องเผชิญกับโรคซึมเศร้า ร่างกายจึงได้รับผลกระทบไปด้วย นั่นก็เพราะว่าเมื่อเกิดอาการ ผู้ป่วยมักมีพฤติกรรมที่ส่งผลต่อเส้นผมได้ ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ความวิตกกังวล ความเครียด ที่ล้วนแล้วแต่ทำให้ภาวะผมร่วงตามมาได้ทั้งนั้น นอกจากนี้การรักษาด้วยยารักษาโรคซึมเศร้าและยาคลายเครียดบางชนิด ยังทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ทำให้ผมร่วงได้ด้วย เช่น Anafranil, Pamelor และ Sinequan เป็นต้น ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยคนไหนที่กำลังทำการรักษาด้วยยาแล้วเกิดการผมร่วงนั้น ไม่ต้องตกใจไปนะคะ ให้ติดต่อแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อปรึกษาหาแนวทางการแก้ปัญหาได้เลย

ผมร่วงกับภาวะซึมเศร้าเกี่ยวข้องกันอย่างไร_3

โรคซึมเศร้าที่เกิดมาจากผมร่วง

แม้ว่าการที่ผมร่วงจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองหรือทำให้เราเจ็บตัว แต่ในคนไข้บางราย การสูญเสียเส้นผมจากผมร่วงนั้น ทำร้ายจิตใจและความมั่นใจได้แบบไม่เหลือชิ้นดีจนเกิดเป็นโรคซึมเศร้าตามมา อาการขาดความมั่นใจอย่างรุนแรงนี้ สอดคล้องกับสาเหตุการเกิดโรคอย่างปัจจัยทางจิตสังคมโดยตรง ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการพบจิตแพทย์เพื่อสร้างความเข้าใจตนเอง และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อย่างการรักษาผมร่วงผมบางด้วยการกินยา ทายา หรือปลูกผมค่ะ

สรุป

โรคซึมเศร้า (Depression) คือ ความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมองที่ทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงในด้านของอารมณ์จนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจะมีอาการซึม เศร้า เบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร มองโลกในแง่ลบ ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ไปจนถึงทำร้ายตัวเองและคิดฆ่าตัวตาย สาเหตุของโรคยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าเกิดจากอะไร แต่คาดเดาว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยทั้ง 3 อย่างได้แก่ กรรมพันธุ์ สารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ และปัจจัยทางจิตสังคม วิธีการรักษาสามารถรักษาได้ด้วยการกินยาปรับสารเคมีในสมอง การพบจิตแพทย์และการรักษาด้วยไฟฟ้าในรายที่มีอาการหนัก

โรคซึมเศร้าส่งผลกับภาวะผมร่วงเกี่ยวเนื่องมาจากอาการของโรค ที่มักแสดงอาการที่ทำให้พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปจนกระทบกับการใช้ชีวิตปกติ เช่น นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป ความวิตกกังวล ความเครียด การกินอาหารที่น้อยกว่าปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้ผมร่วงได้ทั้งสิ้น

อีกทั้งการรักษาด้วยการกินยาต้านซึมเศร้าบางตัว ยังเกิดผลข้างเคียงที่ทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน ในขณะเดียวกันนั้น ภาวะผมร่วงผมบางที่หลายคนกำลังเป็น ก็สามารถไปลดทอนความมั่นใจของเจ้าตัวได้ เกิดเป็นปัจจัยทางจิตสังคมที่กระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าตามมาได้นั่นเอง

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณหมอพรีมาเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25
ข่าวสาร
Prima Tossaborvorn

คุณหมอพรีมาเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25 จัดขึ้นที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็ค

หมอพรีมาได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25 จัดขึ้นที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็ค ซึ่งเป็นงานประชุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกเกี่ยวกับศัลยกรรมปลูกผม ที่นี่นับว่าเป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากทั่วโลกที่มาเสนอผลงานวิจัยใหม่ล่าสุดและแบ่งปันความรู้ทางวิชาการในวงการนี้

ปลูกผม DHI
บทความ
Prima Tossaborvorn

ความเข้าใจผิดระหว่างวิธีปลูกผม DHI กับ FUE

หมอได้ยินคำถามจากคนไข้ต่างชาติว่าวิธีปลูกผมด้วยเทคนิค DHI ดีกว่า วิธีปลูกผม FUE ยังไง คำถามนี้แอบทำให้หมอรู้สึกประหลาดใจเล็กน้อย เนื่องจากด้วยกลยุทธ์โฆษณาในปัจจุบัน บ่อยครั้งมันทำให้คนไข้เริ่มเข้าใจผิด หมออยากเขียนอธิบายเกี่ยวกับวิธีปลูกผม DHI และวิธีปลูกผม FUE ดังนี้ค่ะ

ช่องเสือร้องไห้ YOUTUBER ชื่อดัง เลือกเข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ HAIRSMITH CLINIC_1
บทความ
Prima Tossaborvorn

ช่องเสือร้องไห้ ยูทูปเบอร์ชื่อดัง เลือกเข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ Hairsmith Clinic

เมื่อช่องเสือร้องไห้ มีผู้ติดตามบนยูทูปกว่า 3 ล้านคน เข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ Hairsmith Clinic พบกับความสนุกสนานพร้อมสอดแทรกสาระความรู้การปลูกผม และสาระน่ารู้เกี่ยวกับเส้นผม

ปลูกผมแบบ NON-SHAVEN FUE กับ FUE ต่างกันอย่างไร_1
บทความ
Prima Tossaborvorn

ปลูกผมแบบ NON-SHAVEN FUE กับ FUE ต่างกันอย่างไร

เข้าใจลึกซึ้งในการเปรียบเทียบระหว่างการปลูกผมแบบ Non-Shaven FUE และ FUE ทั่วไป ทำความเข้าใจในข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธี, รวมถึงการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด หาคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการเลือกระหว่างวิธีการปลูกผมแบบ Non-Shaven FUE หรือ FUE ทั่วไป ทำให้การตัดสินใจของคุณเป็นไปอย่างมีข้อมูลและมั่นใจ.