พอดีหมออ่านบทความจาก Hair transplant forum international, volume32 number2 march/April 2022 ในหัวข้อ The evolution of the promise of hair cloning: How hair cell cloning will fit into your practice เลยคิดว่าอยากแปลให้เข้าใจง่าย และสรุปมาให้ FC ของ Hairsmith ได้อ่านกัน เพราะเห็นว่าอาจจะพอเป็นความหวังอันไม่น้อยให้คนผมน้อยได้

เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน มีการทดลองนำเซลล์ในชั้นผิวหนัง ที่ชื่อว่า Dermal Papillar cells (ซึ่งต่อไปนี้จะใช้ตัวย่อว่า DP cells) มาเพาะเลี้ยงแล้วฉีดกลับเข้าในในชั้นผิวหนังของหนูทดลอง พบว่ามีรากผมเกิดใหม่มากขึ้น ต่อมาจึงมีการศึกษาในคนบ้าง พบว่าบริเวณที่หัวล้านไปแล้วทำให้จำนวนรากผมเพิ่มขึ้นได้จริงประมาณ 50% แต่ก็เป็นผมเส้นเล็กๆ ซึ่งไม่ได้หนามากพอที่จะทำให้ดูเปลี่ยนแปลงขนาดนั้น
จากการศึกษาต่อๆ มาทำให้พบว่า
- ขนาดของรากผมมีความสัมพันธ์โดยตรงกับขนาดและปริมาณของ DP cells หมายความว่าผมที่บางลงแบบกรรมพันธุ์ก็มีจำนวน DP cells ที่น้อยลง ส่วนบริเวณผมถาวรด้านหลังมีจำนวน DP cells เป็นปกติ
- เมื่อฉีด DP cells เข้าบริเวณที่ต้องการ จะทำให้รากผมบริเวณนั้นมีลักษณะตาม DP cells ที่เป็นต้นแบบได้
- ผมจะยังกลับมาหนาได้ถ้า DP cells ยังไม่หายไปเกิน 2ใน 3
- 4. DP cells ของมนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนได้
สรุปก็คือ ต้องเป็นบริเวณที่ยังพอมีรากผมอยู่บ้างจึงจะทำให้ผมหนาขึ้น ดังนั้นจะมีประโยชน์ในแง่ที่จะป้องกันไม่ให้ผมบางลงมากกว่า ซึ่งในต่างประเทศเริ่มมีการเก็บ DP cells ของคนที่มีแนวโน้มว่าผมจะบางจากกรรมพันธุ์กันบ้างแล้ว แต่ถ้าบริเวณไหนที่ผมหายไปมากแล้วก็ยังต้องพึ่งพาศัลยกรรมปลูกผมอยู่ดี
ดังนั้นฮึบไว้ก่อนนะคะ จนกว่าเทคโนโลยีต่างๆจะได้รับการพิสูจน์ชัดและมาถึงเมืองไทย
สุดท้ายนี้ขอ DP cells จงสถิตย์อยู่กับทุกท่าน