พอดีหมออ่านบทความจาก Hair transplant forum international, volume32 number2 march/April 2022 ในหัวข้อ The evolution of the promise of hair cloning: How hair cell cloning will fit into your practice เลยคิดว่าอยากแปลให้เข้าใจง่าย และสรุปมาให้ FC ของ Hairsmith Clinic ได้อ่านกัน เพราะเห็นว่า DP cells อาจจะพอเป็นความหวังอันไม่น้อยให้คนผมน้อยได้
DP cells คืออะไร
เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน มีการทดลองนำเซลล์ในชั้นผิวหนัง ที่ชื่อว่า Dermal Papillar cells (ซึ่งต่อไปนี้จะใช้ตัวย่อว่า DP cells) มาเพาะเลี้ยงแล้วฉีดกลับเข้าในในชั้นผิวหนังของหนูทดลอง พบว่ามีรากผมเกิดใหม่มากขึ้น ต่อมาจึงมีการศึกษาในคนบ้าง พบว่าบริเวณที่หัวล้านไปแล้วทำให้จำนวนรากผมเพิ่มขึ้นได้จริงประมาณ 50% แต่ก็เป็นผมเส้นเล็กๆ ซึ่งไม่ได้หนามากพอที่จะทำให้ดูเปลี่ยนแปลงขนาดนั้น
DP cells แก้ปัญหาหัวล้านได้อย่างไร
- ขนาดของรากผมมีความสัมพันธ์โดยตรงกับขนาดและปริมาณของ DP cells หมายความว่าผมที่บางลงแบบกรรมพันธุ์ก็มีจำนวน DP cells ที่น้อยลง ส่วนบริเวณผมถาวรด้านหลังมีจำนวน DP cells เป็นปกติ
- เมื่อฉีด DP cells เข้าบริเวณที่ต้องการ จะทำให้รากผมบริเวณนั้นมีลักษณะตาม DP cells ที่เป็นต้นแบบได้
- ผมจะยังกลับมาหนาได้ถ้า DP cells ยังไม่หายไปเกิน 2ใน 3
- 4. DP cells ของมนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนได้
สรุป
การรักษาหัวล้านต้องเป็นบริเวณที่ยังพอมีรากผมอยู่บ้างจึงจะทำให้ผมหนาขึ้น ดังนั้นจะมีประโยชน์ในแง่ที่จะป้องกันไม่ให้ผมบางลงมากกว่า ซึ่งในต่างประเทศเริ่มมีการเก็บ DP cells ของคนที่มีแนวโน้มว่าผมบางจากกรรมพันธุ์กันบ้างแล้ว แต่ถ้าบริเวณไหนที่ผมหายไปมากแล้วก็ยังต้องพึ่งพาศัลยกรรมปลูกผมอยู่ดี
ดังนั้นฮึบไว้ก่อนนะคะ จนกว่าเทคโนโลยีต่างๆจะได้รับการพิสูจน์ชัดและมาถึงเมืองไทย
สุดท้ายนี้ขอ DP cells จงสถิตย์อยู่กับทุกท่าน