ทอผมคืออะไร ทางรอดของคนผมบาง หัวล้าน จริงหรือ

/
/
ทอผมคืออะไร ทางรอดของคนผมบาง หัวล้าน จริงหรือ
ทอผมคืออะไร

หากพูดถึง “ทอผม” หลายๆ คนอาจจะงงว่าสิ่งนี้คืออะไร แต่ถ้าเรียกวิธีการเสริมผมหนานี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า แฮร์พีซ (Hairpiece) ก็อาจพอนึกออกได้ง่ายขึ้น โดยการติดแฮร์พีซหรือการทอผมนั้นมีการใช้งานกันมาอย่างยาวนานและแพร่หลาย ตั้งแต่ในวงการแฟชั่น ไปจนถึงการเสริมความมั่นใจให้กับศิลปิน นักแสดง และคนในแวดวงต่างๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันว่าการทอผมคืออะไร และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

ทอผม คือการเพิ่มจำนวนเส้นผมในบริเวณที่ผมบางหรือบริเวณที่ศีรษะล้าน ซึ่งผมที่นำมาใช้จะเป็นผมสังเคราะห์หรือเส้นผมจริงก็ได้ โดยการเอาส่วนโครงสร้างผมทอติดเข้ากับผมเดิมที่เรามีอยู่ด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายการใส่วิก แต่วัสดุที่ใช้ทำจะแตกต่างกันไป ตั้งแต่การใช้พลาสติก ตาข่าย ไปจนถึงวัสดุทางการแพทย์ที่มีความยืดหยุ่นสูงและระบายอากาศได้ดี จึงนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน หรือผู้ที่ต้องการปกปิดรอยแผลเป็นต่างๆ โดยไม่ต้องทานยาหรือผ่าตัดปลูกผม

วิธีการติดโครงผมทอเข้ากับผมเดิมที่นิยมใช้กันจะมีอยู่ 3 วิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการทอผมของแต่ละคน ดังนี้

  1. การติดผมทอด้วยกิ๊บ นิยมเรียกทับศัพท์กันว่าแฮร์พีซ (Hairpiece) มากกว่าการเรียกว่าการทอผม ซึ่งวิธีนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่เราเห็นได้บ่อยที่สุด และหาซื้อได้ง่ายที่สุด ราคาไม่สูง มีทรงผมและสีสันที่หลากหลาย สามารถติดและถอดออกได้ง่ายเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ส่วนใหญ่มักทำจากเส้นใยสังเคราะห์ ไม่ทนความร้อน และก่อให้เกิดผลกระทบกับเส้นผมและหนังศีรษะน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการติดผมทอรูปแบบอื่น
  2. การทอผมที่ยึดผมทอเข้ากับผมเดิม หากอธิบายให้เห็นภาพชัดๆ ก็คือการต่อผม โดยวิธีการต่อผมแบบเก่า ช่างมักจะใช้กาวเป็นหลัก ทำให้ผมจับตัวกันเป็นก้อน ผมพันกัน หวีไม่ได้ และเสี่ยงต่อผมร่วงได้ง่ายหากดูแลไม่ดี แต่ในปัจจุบัน วิธีการต่อผมที่กำลังได้รับความนิยมจะเป็นการต่อแบบผูกเส้นผม ซึ่งเป็นเทคนิคที่ดูเป็นธรรมชาติที่สุด และเป็นวิธีที่ไม่ทำร้ายเส้นผมมากเกินไป แต่ข้อเสียคือใช้เวลาทำนาน ราคาสูง รวมไปถึงต้องทำกับช่างที่ชำนาญเท่านั้น เพื่อไม่ให้ผมพันกันนั่นเอง
  3. ติดกาวเข้ากับหนังศีรษะ โครงสร้างของตัวแฮร์พีซจะมีส่วนที่เรียกว่าหนังศีรษะเทียม ซึ่งเป็นส่วนที่ติดเข้ากับหนังศีรษะของผู้เข้ารับการทอผมด้วยการใช้กาวทางการแพทย์เป็นวัสดุยึด หนังศีรษะเทียมที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบโครงสร้างตาข่ายและแบบโพลิเมอร์ โดยจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป เช่น หนังศีรษะเทียมที่มีโครงสร้างตาข่ายจะระบายอากาศได้ดีกว่า ทำให้ไม่รู้สึกร้อนหรืออึดอัดเมื่อสวมใส่ ในขณะที่หนังศีรษะเทียมแบบโพลิเมอร์จะช่วยให้ผมทอยึดติดอยู่กับหนังศีรษะได้แน่นกว่า แต่จะร้อนและรู้สึกไม่สบายศีรษะ เป็นต้น
ทอผม 01
  1. ง่าย การติดผมทอเข้ากับผมเดิมหรือหนังศีรษะสามารถทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ซึ่งในที่นี้อาจต้องอาศัยความชำนาญในการจัดแต่งทรงผมของช่าง เพื่อให้ผมที่ทอไปดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
  2. เห็นการเปลี่ยนแปลงทันที ไม่ว่าจะเป็นการทอผมด้วยวิธีไหน ทั้งการติดแฮร์พีช การยึดกับผมเดิม หรือการติดกาวกับหนังศีรษะก็สามารถเห็นผลลัพธ์ได้แบบทันทีทันใด เนื่องจากไม่จำเป็นต้องรอให้ผมงอกขึ้นมาใหม่นั่นเอง
  3. ราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับการปลูกผม หากเทียบจำนวนเส้นผมที่ได้จากการทอผม กับพื้นที่ที่คนไข้กังวลเรื่องศีรษะล้าน แน่นอนว่าการทอผมมีราคาถูกกว่า แต่ทั้งนี้การทอผมไม่ใช่วิธีที่คงอยู่ได้ถาวรเหมือนการปลูกผม ทำให้ต้องหมั่นเช็คคุณภาพของผมทออยู่เสมอ และควรเปลี่ยนเป็นชิ้นใหม่เมื่อผ่านการใช้งานครบระยะแล้ว

การทอผมเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมบาง แต่ก่อนตัดสินใจควรทำความเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วน เพื่อวางแผนงบประมาณได้อย่างเหมาะสม

ราคาการทอผมแต่ละประเภท

  • แฮร์พีซแบบติดกิ๊บ: 2,500-8,000 บาท
  • การทอผมแบบผูกเข้ากับผมเดิม: 15,000-25,000 บาท
  • การทอผมแบบติดกาว: 20,000-35,000 บาท
  • แฮร์พีซแบบพรีเมียม (ผมธรรมชาติ 100%): 30,000-50,000 บาท

ค่าบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง

ค่าใช้จ่ายรายเดือน:

  • แชมพูและครีมนวดสำหรับผมทอ: 1,000-2,000 บาท
  • ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงพิเศษ: 500-1,500 บาท

ค่าใช้จ่ายรายปี:

  • ค่าปรับและจัดแต่งทรง (ทุก 2-3 เดือน): 12,000-24,000 บาท
  • ค่าเปลี่ยนชิ้นใหม่ (ปีละ 1-2 ครั้ง): 15,000-30,000 บาท
    รวมค่าใช้จ่ายต่อปีประมาณ 45,000-80,000 บาท

เปรียบเทียบราคากับวิธีอื่นๆ

  • การทอผม: เริ่มต้น 15,000-50,000 บาท + ค่าดูแลต่อเนื่อง
  • การปลูกผม: 120,000-250,000 บาท (ครั้งเดียว)
  • การฉีด PRP: 15,000-25,000 บาทต่อครั้ง (แนะนำ 4-6 ครั้งต่อปี)
  • ยารักษาผมร่วง: 1,500-3,000 บาทต่อเดือน

    แม้ว่าการทอผมจะเป็นวิธีที่ง่ายและเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน แต่การทอผมก็มีข้อควรระวังเช่นกัน ได้แก่

    1. ดึงรั้งเส้นผมเดิม ด้วยน้ำหนักของแพผมที่ติดเข้ามากับเส้นผมเดิมของเรา ในการติดตั้งผมทอแบบติดกิ๊บ จะทำให้เส้นผมต้องแบกรับทั้งความหนักและแรงดึงรั้ง โดยเฉพาะกับผู้ที่ต้องติดแฮร์พีชตลอดทั้งวัน ผลกระทบที่ได้จึงไม่ต่างกับการมัดผมแน่นๆ เลย นั่นคือทำให้เส้นผมที่ถูกรั้งเอาไว้อ่อนแอลงเรื่อยๆ สุดท้ายจึงกลายเป็นปัญหาผมร่วงและเริ่มบางลงในที่สุด
    2. ติดกาวทับเส้นผม สำหรับการทอผมด้วยวิธีติดกาวทางการแพทย์ลงบนหนังศีรษะ หากวัสดุที่ใช้เป็นฐานเส้นผมทำมาจาก PVC หรือซิลิโคน จะเกิดการทับปิดเส้นผมเดิม หรือรูขุมขนที่ยังมีเส้นผมอยู่ ทำให้เส้นผมไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ อีกทั้งยังเป็นวัสดุที่ระบายอากาศได้ไม่ดี จึงอาจเกิดการอุดตันของรูขุมขน และทำให้เกิดปัญหาผมตามมา เช่น กลิ่นไม่พึงประสงค์ อาการคัน และผมร่วง เป็นต้น
    3. ไม่ใช่การแก้ปัญหาถาวร เนื่องจากการทอผมจำเป็นที่จะต้องถอดออกเพื่อบำรุงรักษา ทำความสะอาดและเปลี่ยนกาวเรื่อยๆ (ในกรณีที่ยึดติดด้วยกาว) ทำให้การทอผม ไม่ใช่วิธีการรักษาผมร่วงผมบางที่ถาวรเหมือนการปลูกผม

    อย่างไรก็ตาม มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่มองว่าการทอผมเป็นการแก้ปัญหาเพียงชั่วคราว จึงหันมาแก้ปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน ด้วยการปลูกผมถาวรแทนการทอผม เพราะเป็นการลงทุนครั้งเดียวแต่ผลลัพธ์ที่ได้มีความคุ้มค่ามากกว่า สำหรับการปลูกผมที่ Hairsmith Clinic เราดูแลทุกเคสโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมโดยเฉพาะ พร้อมรับประกันผลลัพธ์ทุกเคส เน้นออกแบบแนวไรผมให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด หากมีความสนใจปลูกผมถาวรเพื่อแก้ปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน สามารถทำนัดเพื่อปรึกษาหมอก่อนได้เลยค่ะ

    ทอผม 02
    ทอผม 04

    การทอผม คือการเพิ่มจำนวนเส้นผมในบริเวณที่ต้องการ ซึ่งวัสดุที่ใช้จะเป็นเส้นผมสังเคราะห์หรือเส้นผมจริงก็ได้ โดยการเอาส่วนโครงสร้างผมทอติดเข้ากับผมเดิมที่มีอยู่ของเราด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การติดกิ๊บ การยึดกับโครงผมเดิม และการติดกาวเข้ากับหนังศีรษะ ข้อดีของการทอผม คือความง่าย เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจน และราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับการปลูกผม แต่อย่างไรก็ตามการทอผมก็มีข้อพึงระวังเช่นกัน เพราะแพผมจะเข้าไปดึงรั้งเส้นผมเดิมจนรากผมอ่อนแอและร่วงได้ หรือหากเป็นการติดกาวก็จะทำให้เกิดการกดทับเส้นผมธรรมชาติจนไม่สามารถงอกขึ้นมาได้เต็มที่ อีกทั้งการทอผมยังไม่ใช่การแก้ปัญหาผมบาง ศีรษะล้านอย่างถาวร ดังนั้นหากใครที่กำลังสนใจการทอผมอยู่ ก็อย่าลืมศึกษาข้อมูล ข้อดี และข้อพึงระวังกันให้ดีเสียก่อนว่าเหมาะสมกับการใช้ชีวิตของเราหรือไม่นั่นเอง

    แชร์บทความนี้

    Picture of พญ.พรีมา ทศบวร
    พญ.พรีมา ทศบวร

    แพทย์ประจำ คลินิกปลูกผม ผ่าตัดสำเร็จมาแล้วกว่า 3,000 ราย แพทย์ American Board of Hair Restoration Surgery หรือ ABHRS จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันด้าน ศัลยกรรมปลูกผม ของโลก

    บทความที่เกี่ยวข้อง

    รู้จัก ลักษณะเส้นผม ทั้ง 4 ประเภท
    Prima Tossaborvorn

    รู้จักลักษณะเส้นผมทั้ง 4 ประเภท ดูแลอย่างไรให้เหมาะสม

    ในบทความนี้ เราจะพามาทำความรู้จักกับลักษณะเส้นผม พร้อมแนะนำวิธีดูแลเส้นผมที่เหมาะสม ตั้งแต่การเลือกแชมพู ครีมนวด ไปจนถึงเทคนิคการบำรุงและจัดแต่งทรงผมให้ดูสุขภาพดีค่ะ

    Traction Alopecia ผมร่วงจากการดึงรั้ง
    Prima Tossaborvorn

    Traction Alopecia ผมร่วงจากการดึงรั้ง รักษาอย่างไร

    บทความนี้จะพาไปรู้จักกับภาวะ Traction Alopecia อย่างละเอียด ตั้งแต่สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน ไปจนถึงแนวทางการรักษา เพื่อให้คุณสามารถดูแลเส้นผมได้อย่างถูกต้องและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาผมร่วงที่รุนแรงขึ้นในอนาคตนะคะ

    ยาแก้ผมร่วง สำหรับผู้หญิง ใช้ได้ไหม
    Prima Tossaborvorn

    ยาแก้ผมร่วง สำหรับผู้หญิง ใช้ได้ไหม อันตรายหรือไม่

    รู้หรือไม่ว่า 60% ของผู้หญิงต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงในช่วงหนึ่งของชีวิต หากปล่อยไว้อาจนำไปสู่ปัญหาผมบางถาวรได้ บทความนี้จะพาไปรู้จัก “ยาแก้ผมร่วง สำหรับผู้หญิง” ตั้งแต่สาเหตุ ประเภทของยา วิธีเลือกใช้ ข้อควรระวัง และแนวทางดูแลเส้นผมให้แข็งแรงขึ้น