ผมบางหรือหัวล้าน อาจฟังดูเป็นเรื่องเล็กๆ สำหรับบางคน แต่สำหรับหลายๆ คน นี่คือปัญหาที่บั่นทอนความมั่นใจได้มากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสังคม การทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน การที่ผมบางจนเห็นหนังศีรษะชัดเจนหรือมีเส้นผมที่ร่วงหลุดง่าย อาจทำให้เรารู้สึกขาดความมั่นใจในตัวเอง ปัจจุบันการแก้ปัญหานี้มีหลายวิธี หนึ่งในนั้นก็คือ ยาปลูกผม ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญที่หลายคนหันมาให้ความสนใจ แต่ยาปลูกผมคืออะไร? ใช้งานอย่างไร? และได้ผลจริงหรือไม่? วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้แบบเจาะลึก พร้อมคำแนะนำที่เข้าใจง่าย
ยาปลูกผมคืออะไร
ยาปลูกผม คือยาที่ช่วยฟื้นฟูปัญหาผมร่วงหรือผมบาง โดยมุ่งเน้นให้เส้นผมงอกขึ้นใหม่ หรือช่วยลดอัตราการหลุดร่วงของเส้นผม มักเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงจาก พันธุกรรม หรือปัญหาจากฮอร์โมน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหาหัวล้านในผู้ชายและผมบางในผู้หญิง
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หัวล้านเกิดจากอะไร วิธีแก้ปัญหาหัวล้าน
ยาปลูกผมมีอะรบ้าง
ยาปลูกผมที่ได้รับการยอมรับและผ่านการวิจัยจนมีผลลัพธ์ชัดเจนมี 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่
1. ฟีนาสเทอร์ไรด์ (Finasteride)
เป็นยากินแก้ผมร่วง ผมบาง เป็นยาแก้ผมร่วงที่ใช้ได้ในเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ซึ่งยาตัวนี้จะทำงานโดยการลดอัตราการเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ให้เป็น DHT ที่เป็นสาเหตุของอาการผมร่วง ไม่สามารถใช้ในผู้หญิงได้ เพราะมีผลข้างเคียงมากและไม่เห็นผล ซึ่งในการใช้ยาจะเริ่มเห็นผลเมื่อใช้ 4-6 เดือนขึ้นไป แต่เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนเมื่อใช้ 1 ปีขึ้นไป
- หลักการทำงานของยา Finasteride
ยาตัวนี้จะเข้าไปลดฮอร์โมน DHT ได้ถึง 60% ทำให้ผมงอกใหม่ได้ดีขึ้น การหลุดร่วงน้อยลง ทั้งนี้สามารถใช้กับผู้ที่ปลูกผมมาก่อนได้ เพราะจะทำให้ผมดูเยอะ และหนาขึ้นในระยะยาว
- ผลข้างเคียงของ Finasteride
ในบรรดาผู้ใช้ยา Finasteride ในการรักษา มี 2-3% ที่อาจมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปริมาณน้ำอสุจิลดลง เต้านมขยายใหญ่ขึ้นในผู้ชาย มีก้อน เจ็บเต้านมและอาจมีสารคัดหลั่งไหลออกมา มีค่าการทำงานของตับที่มากกว่าปกติ และอาจเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งพบได้ใน 3% ของผู้ที่ใช้ยา
- ขนาดและวิธีการใช้
– ขนาดที่แนะนำคือ 1 มิลลิกรัมต่อวัน
– ควรกินในเวลาเดียวกันทุกวันเพื่อให้ระดับยาในร่างกายคงที่
– มักเริ่มเห็นผลลัพธ์ในช่วง 3-6 เดือน
- ข้อควรระวัง
– ห้ามใช้ในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งครรภ์หรือวางแผนมีบุตร เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
– ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา เพราะอาจมีผลข้างเคียง เช่น ความต้องการทางเพศลดลง อารมณ์แปรปรวน หรือความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ยาฟินาสเตอร์ไรด์ หลักการทำงานและผลข้างเคียง
2. ไมนอกซิดิล (Minoxidil)
ยาปลูกผมไมนอกซิดิล ส่วนมากมักใช้เพื่อรักษาการผมร่วงจากกรรมพันธุ์ โดยยาจะเข้าไปขยายหลอดเลือด ให้เลือดไปเลี้ยงรากผมได้ดียิ่งขึ้น เป็นยาที่ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่เป็นยาเพียงชนิดเดียว ที่ใช้สำหรับรักษาผมร่วงในผู้หญิงและได้ผลดีที่สุด มีทั้งชนิดยาทาน และทาเฉพาะจุด
- หลักการทำงานของยา Minoxidil
เดิมที ไมนอกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง มีกลไกการทำงานคือช่วยขยายหลอดเลือดเพื่อให้ความดันโลหิตลดลง แต่ผลข้างเคียงที่เกิดจากยาก็คือ เมื่อทานยาไประยะหนึ่งจะทำให้ผมงอกขึ้นมา สาเหตุก็เพราะเมื่อเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น รากผมจึงได้รับสารอาหารมากขึ้นไปด้วย
- ผลข้างเคียง
แบบกิน – อาจมีอาการบวมที่ใบหน้า แขน ขา เวียนหัว หัวใจเต้นเร็ว บางรายอาจมีขนขึ้นที่ใบหูได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน หรือแยกกันก็ได้ค่ะ
แบบทา – เนื่องจากยาแบบทานั้น จะมีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ด้วย ทำให้มีอาการผิวแห้งในปริเวณที่ทา จึงอาจทำให้มีอาการคันร่วม หรือบางรายอาจแพ้ตัวยาและเกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน
- ขนาดและวิธีการใช้
– ไมน็อกซิดิลมีความเข้มข้นให้เลือก 1% และ 5%
– แบบทาน ทานวันละ 1 เม็ด แบบทาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
- ข้อควรระวัง
– หลีกเลี่ยงการทาบริเวณที่มีแผล หรือสัมผัสกับผิวหนังส่วนอื่น
– ช่วงแรกของการใช้ยาอาจพบผมร่วงมากขึ้นก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการกระตุ้นให้เส้นผมอ่อนแอหลุดร่วง เพื่อเปิดทางให้ผมใหม่ที่แข็งแรงกว่า
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ไมน็อกซิดิล (MINOXIDIL) ช่วยเรื่องผมร่วงจริงหรือไม่
ยาปลูกผมได้ผลจริงหรือไม่
ยาปลูกผมได้ผลจริงในคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มมีปัญหาผมร่วงหรือผมบางในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม ควรเข้าใจว่าผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับการใช้งานอย่างสม่ำเสมอและระยะเวลาที่ใช้ โดยอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนถึงจะเห็นผลชัดเจน อย่างไรก็ตาม ยาไม่ได้ช่วยในกรณีที่ผมร่วงจนศีรษะล้านมานานหลายปี เพราะรูขุมขนในบริเวณนั้นอาจฝ่อลงไปจนไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่ได้
ยาปลูกผม ไม่เหมาะกับใคร
- ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผมบาง หรือหัวล้านในระดับกลางไปจนถึงรุนแรง แต่จะต้องใช้วิธีรักษาแบบอื่นแทน เช่น การปลูกผม
- ไม่เหมาะกับผู้ที่เซลล์ผมเสื่อมสภาพ เซลล์รากผมตาย หรือไม่มีเซลล์รากผมที่สามารถงอกใหม่ได้แล้ว เพราะการกินยาปลูกผมทั้งๆ ที่ไม่มีเซลล์รากผมนั้นนอกจากจะไม่ส่งผลในแง่ของการรักษาใดๆ ยังอาจจะเสี่ยงกับการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่จำเป็นอีกด้วย
- ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการปลูกผม ในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์
- ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะยาปลูกผมส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์ได้ค่ะ
ซื้อยาปลูกผมตามท้องตลาดมากินเองได้มั้ย
สิ่งที่น่ากลัวและอาจจะอันตรายกว่าผลข้างเคียงของยาปลูกผม นั่นคือยาปลูกผมปลอมนั่นเอง นั่นเพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ในผลิตภัณฑ์ที่เราซื้อมานั้น มีตัวยาหรือสารอันตรายใดๆ เจือปนอยู่บ้าง ถึงแม้จะมีหลายแบรนด์ที่เคลมว่าปลอดภัยได้มาตรฐาน อย. แต่สมัยนี้การสวม อย. ปลอมก็มีอยู่กราดเกลื่อนทั่วไปหมด ทางที่ดีหากเราต้องการรักษาผมร่วง ผมบางจริงๆ ควรซื้อจากที่ที่ไว้ใจได้ หรือเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการวิเคราะห์อาการ และแก้ปัญหาผมของเราได้อย่างถูกจุดจะดีกว่าค่ะ
สรุปยาปลูกผม
ยาปลูกผมสามารถซื้อมาทานเองได้ค่ะ แต่อาจไม่ได้ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะตัวยาแต่ละชนิดมีข้อจำกัดในการใช้ และปริมาณตัวยาที่ใช้ได้ต่างกัน รวมไปถึงอาการข้างเคียง หรืออาการแพ้ไม่พึงประสงค์ของแต่ละคน ซึ่งจะสามารถคาดการณ์การรักษาได้ด้วยดุลยพินิจและความชำนาญของแพทย์ ทั้งนี้ยาปลูกผมนั้นเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางในระยะเริ่มต้นที่ยังมีเซลล์รากผมเหลืออยู่เท่านั้น และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่หัวล้านในระยะกลางขึ้นไป ซึ่งอาจจะต้องทำการรักษาด้วยปลูกผมแทน และสตรีมีครรภ์ ที่ตัวยาอาจจะส่งผลต่อเด็กในท้อง สุดท้ายคือต้องไม่ลืมว่ายาปลูกผมปลอมนั้นมีอยู่มากกมายตามท้องตลาด ควรระวังในการเลือกซื้อให้ดี แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ