ฮอร์โมน DHT คืออะไร ทำให้ผมร่วงผมบางได้อย่างไร

/
/
ฮอร์โมน DHT คืออะไร ทำให้ผมร่วงผมบางได้อย่างไร
ฮอร์โมน DHT คืออะไร ทำให้ผมร่วงผมบางได้อย่างไร_1

สำหรับผู้ชายที่กำลังเผชิญปัญหาผมร่วงผมบาง หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่า ฮอร์โมน DHT นั้น เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิด ผมร่วง ผมบางในผู้ชาย แต่รู้กันมั้ยคะว่าฮอร์โมน DHT นั้นจริงๆ แล้วมันคืออะไร มีหน้าที่อย่างไรในร่างกายของเรา แล้วทำไมฮอร์โมน DHT ถึงทำให้ผมร่วงผมบางขึ้นได้ วันนี้คุณหมอมีคำตอบมาฝากทุกคน พร้อมทั้งวิธีลดปริมาณฮอร์โมน DHT ที่จะช่วยทำให้เส้นผมของเราปลอดภัยจากภาวะผมร่วงผมบางได้อย่างตรงจุดค่ะ

ฮอร์โมน DHT หรือ ดีไฮโดรเทสโทสเทอโรน (Dihydrotestosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญตัวหนึ่ง เกิดจากการที่ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ในร่างกาย ทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ 5-alpha reductase (5-AR) ให้เปลี่ยนเป็นฮอร์โมน DHT ซึ่งฮอร์โมนนี้มีส่วนช่วยในการพัฒนาลักษณะทางเพศของผู้ชาย อาทิ ขนตามร่างกาย การเจริญขององคชาติและถุงอัณฑะ เป็นต้น

แม้จะเป็นฮอร์โมนเพศเหมือนกัน แต่ฮอร์โมน DHT นั้นจะเน้นไปที่เรื่องของเส้นผมและขนตามส่วนต่างๆ ในร่างกายมากกว่า อย่างที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือการที่ DHT ทำให้เกิดผมร่วงผมบาง แต่ก็ยังมีหน้าที่สร้างขนทั่วร่างกายของเราด้วย เช่น ขนบนใบหน้า ขนในที่ลับ เป็นต้น นอกจากเรื่องของผมและขนแล้ว  DHT ก็ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีก กล่าวคือมีส่วนช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ รวมถึงมีการทำให้สรีระมีการแสดงออกถึงลักษณะทางเพศอย่างเหมาะสม ทั้งยังมีผลต่อการสะสมไขมันในร่างกาย และช่วยในเรื่องของการเสริมสร้างกล้ามเนื้ออีกด้วย

ฮอร์โมน DHT คืออะไร ทำให้ผมร่วงผมบางได้อย่างไร_2

ปัญหาผมร่วงในผู้ชายที่พบเจอส่วนใหญ่ล้วนเกิดขึ้นมาจากฮอร์โมน DHT ตัวนี้ ถ้าเรามีกรรมพันธุ์ศีรษะล้านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ฮอร์โมน DHT ก็จะทำหน้าที่เข้าไปเป็นปัจจัยทำให้ภาวะผมร่วงผมบางเกิดชัดขึ้น ซึ่งหลักการที่ทำให้เกิดผมบางนั้น เกิดขึ้นจากการที่ DHT เข้าไปออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (Androgen receptor) ที่อยู่ตรงบริเวณรากผม ทำให้วงจรชีวิตของเส้นผมเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เส้นผมจะมีระยะเจริญเติบโตอยู่ที่ประมาณ 2-6 ปี ก่อนจะเข้าสู่ระยะพักเป็นเวลา 1-4 เดือน แต่เมื่อได้รับอิทธิพลของ DHT ก็จะทำให้เส้นผมมีระยะเจริญเติบโตที่สั้นลง มีระยะพักที่นานขึ้นและนานขึ้นแบบนี้ต่อไป จนทำให้รากผมสร้างเส้นผมได้สั้นลง เส้นเล็กลงเรื่อยๆ จนเมื่อรากผมไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่ได้อีกต่อไป รากผมก็จะฝ่อตัวลงในที่สุด จนกลายเป็นสาเหตุของปัญหาศีรษะล้านนั่นเองค่ะ

ฮอร์โมน DHT คืออะไร ทำให้ผมร่วงผมบางได้อย่างไร_3

แน่นอนว่าการที่เรามีฮอร์โมน DHT มากเกินไป จะส่งผลให้เราต้องพบเจอกับภาวะผมร่วงผมบางได้ง่ายขึ้น ซึ่งหลายครั้งก็ทำให้ผู้ที่มีปัญหานี้ต้องสูญเสียความมั่นใจในตัวเองได้ จึงต้องมีการรักษาผมร่วงผมบางที่ว่านี้ ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นปัญหาหัวล้าน ด้วยการลดปริมาณหรือปกป้องเส้นผมจากฮอร์โมน DHT โดยสามารถทำได้ดังนี้

การปรับพฤติกรรม

พฤติกรรมบางอย่างสามารถเสริมความรุนแรงของ DHT ทำให้เกิดผมร่วงผมบางมากขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การใช้ความร้อนและสารเคมีกับเส้นผม ฯลฯ เราจึงควรปรับลดพฤติกรรมที่ไม่ดีเหล่านั้นออกไป แล้วเพิ่มพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์กับร่างกายและเส้นผม เช่น การออกกำลังกาย ลดการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่การลดความเครียด เป็นต้น

การกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผม

สารอาหารจำพวกสังกะสี (Zinc) สามารถช่วยลดการเกิดฮอร์โมน DHT ได้ด้วยการเข้าไปขัดขวางไม่ให้เกิดการเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนไปเป็น DHT ในขณะเดียวกันไบโอติน (Biotin) ก็ยังช่วยทำให้เส้นผมและรากผมแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งความแข็งแรงของเส้นผมนี้เอง จะเป็นประโยชน์ในการต่อสู้กับผลกระทบของฮอร์โมน DHT ได้เป็นอย่างดี

ฮอร์โมน DHT คืออะไร ทำให้ผมร่วงผมบางได้อย่างไร_4

การรักษาด้วยยา

ยารักษาอาการผมร่วงผมบางที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีในทางการแพทย์นั้น นิยมใช้เป็นหลักอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

  • ยาฟีนาสเทอไรด์ (FINASTERIDE)

เดิมทีเป็นยารักษาโรคต่อมลูกหมากโต แต่มีผลที่ช่วยลดอัตราการเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนไปเป็นฮอร์โมน DHT ได้ ซึ่งเมื่อปริมาณ DHT ลดลง ก็จะทำให้ผมร่วงน้อยลง เส้นผมมีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งจะทำให้ผมหนาขึ้นนั่นเอง

  • ไมน็อกซิดิล (MINOXIDIL)

ยารักษาโรคความดันโลหิต ช่วยในเรื่องของการขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดพาสารอาหารไปเลี้ยงเส้นผมได้ดีขึ้น จึงช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม ลดการหลุดร่วง และทำให้เส้นผมมีอายุขัยที่ยาวนานขึ้น โดยในส่วนของไมน็อกซิดิ มีให้เลือกใช้ได้ทั้งแบบกินและแบบทา

ฮอร์โมน DHT

ถ้าพูดถึงเรื่องผมร่วงผมบาง สิ่งที่เรามักกล่าวถึงก็คือ การที่ร่างกายตอบสนองต่อ DHT ที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงผมบางได้มากกว่าปกติ การที่ร่างกายผลิตฮอร์โมน DHT น้อยจนเกินไปก็สร้างปัญหาต่อร่างกายของเราได้มากเช่นกัน ซึ่งผลกระทบจากการมีฮอร์โมน DHT น้อยเกินไป มีดังนี้

  1. อวัยวะเพศ ต่อมลูกหมาก อัณฑะ พัฒนาได้ช้าหรือเจริญได้ไม่สมบูรณ์
  2. เกิดการเปลี่ยนแปลงการกระจายไขมันในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ เช่น ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย (Gynecomastia)
  3. เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากบางประเภท

ถึงฮอร์โมน DHT จะขึ้นชื่อว่าเป็นฮอร์โมนเพศชาย แต่ก็มีอยู่ในเพศหญิงด้วย เพียงแต่จะมีอยู่ในปริมาณที่น้อยกว่า เพราะผู้หญิงมีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่สามารถแปลงสภาพไปเป็นฮอร์โมน DHT ได้น้อยกว่านั่นเอง ไม่เพียงเท่านั้น ในร่างกายของผู้หญิงยังมีเอนไซม์สำคัญที่ชื่อว่าไซโตโครมพี 450 (Cytochrome P450) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสตราดิออล (Estrodiole) ซึ่งจะคอยช่วยต้านการทำงานของ DHT ประกอบกับที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในปริมาณมาก คอยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเส้นผม ทำให้ในกรณีของผู้หญิงนั้น จึงไม่ค่อยมีปัญหาผมร่วงผมบางเพราะ DHT มากเท่าผู้ชายค่ะ

ฮอร์โมน DHT เป็นฮอร์โมนเพศตัวหลัก ที่ทำให้เกิดผมร่วงผมบางในเพศชาย ซึ่งเกิดจากการที่ฮอร์โมน DHT ไปจับเข้ากับตัวรับแอนโดรเจนที่บริเวณรากผม ทำให้ระยะการเจริญเติบโตของเส้นผมสั้นลงและระยะพักตัวนานขึ้น ส่งผลให้เส้นผมบางลงเรื่อยๆ และรากผมก็จะฝ่อหายไป ซึ่งวิธีป้องกันและลดฮอร์โมน DHT สามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผม และการรักษาด้วยยา ทั้งนี้ก่อนที่ปัญหาผมร่วงผมบางจะบานปลายจนเกิดเป็นปัญหาศีรษะล้าน ทางที่ดีคุณผู้อ่านควรที่จะรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องแลเสียตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ

แชร์บทความนี้

Picture of พญ.พรีมา ทศบวร
พญ.พรีมา ทศบวร

แพทย์ประจำ คลินิกปลูกผม ผ่าตัดสำเร็จมาแล้วกว่า 3,000 ราย แพทย์ American Board of Hair Restoration Surgery หรือ ABHRS จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันด้าน ศัลยกรรมปลูกผม ของโลก

บทความที่เกี่ยวข้อง

แชมพูลดผมร่วง
Prima Tossaborvorn

แชมพูลดผมร่วง วิธีเลือกซื้อฉบับเข้าใจง่าย บอกลาปัญหาผมบาง

บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จัก แชมพูแก้ผมร่วง ให้มากขึ้น ตั้งแต่กลไกการทำงาน ส่วนผสมสำคัญ วิธีเลือกซื้อให้ตรงปัญหา และเคล็ดลับการใช้ให้ได้ผลดีที่สุด เพื่อให้คุณสามารถเลือกแชมพูที่เหมาะกับตัวเอง และบอกลาปัญหาผมร่วงได้อย่างมั่นใจค่ะ

ผมแตกปลาย เกิดจากอะไร วิธีป้องกัน แก้ไขสำหรับผู้หญิง
Prima Tossaborvorn

ผมแตกปลาย ทำไงดี วิธีป้องกันและแก้ปัญหาสำหรับผู้หญิง

รู้ไหมคะ ว่ากว่า 70% ของผู้หญิงเคยมีปัญหาผมแตกปลาย และส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการดูแลเส้นผม คิดว่าแค่ใช้แชมพูหรือครีมนวดดีๆ ก็เพียงพอ แต่จริงๆ แล้ว การป้องกันและรักษาผมแตกปลายต้องอาศัยทั้งวิธีดูแลที่ถูกต้อง และการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำร้ายเส้นผม

บอกลาผมลีบแบน เคล็ดลับเพิ่มวอลลุ่มให้ผมหนานุ่มดูเป็นธรรมชาติ
Prima Tossaborvorn

บอกลาผมลีบแบน เคล็ดลับเพิ่มวอลลุ่มให้ผมหนานุ่มดูเป็นธรรมชาติ

เคยรู้สึกไหมคะว่าผมของเราดูแนบติดหนังศีรษะ ไม่มีวอลลุ่ม จัดทรงยาก ปัญหาผมลีบแบนเป็นเรื่องที่หลายคนพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจปัญหาผมลีบแบนอย่างละเอียด พร้อมแนะนำวิธีแก้ไขและเคล็ดลับเพิ่มวอลลุ่มให้ผมสวยตลอดวันค่ะ