fbpx

ปลูกผมแล้วต้องกินยาไหม ต้องกินยาตลอดชีวิตหรือไม่

/
/
ปลูกผมแล้วต้องกินยาไหม ต้องกินยาตลอดชีวิตหรือไม่
ปลูกผมแล้วยังต้องกินยาอยู่หรือไม่_1

คำถามนี้เจอบ่อยมากทั้งทางโทรศัพท์และที่เข้ามาพบหมอที่คลินิกนะคะ คนไข้หลายคนสงสัยว่า ปลูกผมแล้วต้องกินยาไหม ถ้าปลูกผมแล้วยังต้องทานยา แล้วจะปลูกไปทำไม จริงๆ ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ผมปลูก แต่อยู่ที่ผมธรรมชาติต่างหาก เพื่อให้เข้าใจง่าย มาติดตามอ่านกันค่ะ

ฟีนาสเทอร์ไรด์ (Finasteride)

ฟีนาสเทอร์ไรด์ เป็นยากินแก้ผมร่วง ผมบาง ที่ใช้ได้ในเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ซึ่งยาตัวนี้จะทำงานโดยการลดอัตราการเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ให้เป็น DHT ที่เป็นสาเหตุของอาการผมร่วง ไม่สามารถใช้ในผู้หญิงได้ เพราะมีอันตรายเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งในการใช้ยาจะเริ่มเห็นผลเมื่อใช้ 4-6 เดือนขึ้นไป แต่เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนเมื่อใช้ 1 ปีขึ้นไป

ไมนอกซิดิล (Minoxidil)

ไมนอกซิดิล มักใช้เพื่อการรักษาผมร่วงผมบาง โดยการทำงานของยายาจะเข้าไปขยายหลอดเลือด ให้เลือดไปเลี้ยงรากผมได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เส้นผมหนาขึ้น เป็นยาที่ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่เป็นยาเพียงชนิดเดียว ที่ใช้สำหรับรักษาผมร่วงในผู้หญิงและได้ผลดีที่สุด มีทั้งชนิดกิน และน้ำยาปลูกผมทาเฉพาะจุด

มี 2 เหตุผลหลักๆ ที่คุณหมอมักแนะนำสำหรับคนไข้ที่มีกรรมพันธุ์ผมร่วงผมบาง ให้ทานยาปลูกผมอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าจะผ่านการปลูกผมมาแล้ว ได้แก่

1. ผมที่ปลูก

ผมพวกนี้ย้ายมาจากบริเวณท้ายทอยซึ่งเป็นผมที่ไม่ร่วงอยู่แล้ว เนื่องจากไม่มี Receptor ของฮอร์โมน DHT คุณสมบัตินี้จะติดตัวมาด้วยเมื่อเรานำมาปลูก ดังนั้นต่อให้ไม่ทานยา ผมที่ปลูกก็จะขึ้นและอยู่กับเราไปตลอดเหมือนเพื่อนๆ ที่อยู่บริเวณท้ายทอยค่ะ

2. เพื่อรักษาผมธรรมชาติ (ผมเก่าในบริเวณอื่น)

ปัญหาจะอยู่ตรงนี้แหละ เพราะถ้าคนไข้มีกรรมพันธุ์ผมบาง ศีรษะล้าน มันก็มีแนวโน้มที่ผมพวกนี้จะหลุดร่วงไปตามกรรมพันธุ์ การทานยาก็จะมีบทบาทตรงนี้เพื่อไม่ให้ผมธรรมชาติมันร่วงไปจนเหลือแต่ผมปลูกค่ะ

ปลูกผมแล้วต้องกินยาไหม
ปลูกผมแล้วยังต้องกินยาอยู่หรือไม่ 3

หน้าที่นี้ปล่อยให้หมอจัดการค่ะ ต้องบอกก่อนว่ายาไม่ได้จำเป็นสำหรับทุกคน บางคนก็ควรทาน บางคนก็ไม่จำเป็น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่ต้องพิจารณาว่าคนไข้นั้นๆ ยังมีแนวโน้มที่จะเจอปัญหาธรรมชาติผมบางต่อไปหรือไม่ ซึ่งหมอก็ต้องดูทั้งอายุ ระดับความบางของผม ประวัติกรรมพันธุ์ในครอบครัว ฯลฯ

ไม่ทานยาได้มั้ย … ไม่ทานก็ได้ค่ะ ไม่ได้บังคับ แต่ก็ต้องยอมรับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกันว่าหาคนไข้มีแนวโน้มที่จะเจอปัญหาผมธรรมชาติบางไปเรื่อยๆ ผมธรรมชาติก็อาจจะร่วงไปจนเหลือแต่ผมที่ปลูก ในอนาคตก็อาจต้องกลับมาปลูกใหม่ในบริเวณที่ผมธรรมชาติหายไปนั่นเอง

หากทานยาปลูกผมติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี จะมีผลข้างเคียงอะไรกับร่างกายหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องที่คนไข้หลายคนกังวลว่าสมรรถภาพทางเพศจะลดลง จริงๆ แล้วเกิดขึ้นได้เพียง 2% เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำมากๆ แล้วจะส่งผลต่อตับรึเปล่า ก็นิดหน่อยค่ะ อยู่ในระดับที่ไม่อันตราย ยาปลูกผมจะไม่สะสมในตับ ร่างกายจะขับทิ้งไปเองอยู่แล้ว ถ้าคนไข้มีโอกาสไปตรวจร่างกายประจำปีแล้วพบว่าค่าการทำงานของตับอยู่ในระดับปกติก็ไม่มีปัญหาอะไรค่ะ สามารถทานยาต่อเนื่องได้เลย

ที่ Hairsmith Clinic หมอแถมยาทานหลังปลูกผมให้ตลอด 1 ปีเต็มไม่ต้องจ่ายเพิ่มคุ้มยิ่งกว่าคุ้มเสียอีกเรียกว่าดูแลกันไปตลอดจนกว่าผมจะขึ้นเต็มที่เลยค่ะ

ปลูกผมแล้วยังต้องกินยาอยู่หรือไม่ 4

ปลูกผมแล้วต้องกินยาไหม มีเหตุผลหลักๆ คือเพื่อป้องกันผมธรมชาติที่ไม่ได้ปลูกผมไม่ให้ร่วงไปตามกรรมพันธุ์ ซึ่งยาปลูกผมสามารถทานต่อเนื่องได้ยาวๆ ยาปลูกผมจะไม่สะสมในตับ ร่างกายจะขับทิ้งไปเอง

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผมเสีย เกิดจากอะไร เจาะลึกสาเหตุและเคล็ดลับฟื้นฟูผมเสีย
Prima Tossaborvorn

ผมเสียเกิดจากอะไร เจาะลึกสาเหตุและเคล็ดลับฟื้นฟูผมเสีย

ผมเสีย หรือผมแห้งเสีย แม้ว่าจะเป็นปัญหาเล็กๆ แต่ก็มักจะส่งผลต่อความมั่นใจอยู่เสมอเลยล่ะค่ะ ยิ่งคนที่มีปัญหาผมเสียมากหรือมีปัญหาผมแห้งเสียอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งทำให้การจัดแต่งทรงเป็นเรื่องยากจนกลายเป็นคนที่มีข้อจำกัดของการเลือกทรงผมได้ วันนี้หมออยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับปัญหาผมเสีย และวิธีแก้ผมเสียที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองจากที่บ้านกันค่ะ

สิวที่หัว เกิดจากอะไร
Prima Tossaborvorn

สิวที่หัว เกิดจากอะไร สาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาให้ได้ผล

สิวที่หัว อาจฟังดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ถ้าใครเคยเจอก็คงอดหงุดหงิดไม่ได้ใช่ไหมล่ะคะ เพราะทั้งคัน ทั้งเจ็บ และทำให้ไม่สบายตัวได้ไม่น้อยเลย ซึ่งสาเหตุของสิวบนหนังศีรษะไม่ได้เกิดจากความสกปรกอย่างเดียวแบบที่หลายๆ คนเข้าใจ แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น การอุดตันของรูขุมขน ฮอร์โมน หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม วันนี้หมอจะพามาเจาะลึกถึง สาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาสิวที่หัว เพื่อช่วยให้คุณดูแลหนังศีรษะได้อย่างมั่นใจค่ะ

โรคดีแอลอีที่หนังศีรษะ
Prima Tossaborvorn

รู้จักกับ โรคดีแอลอีที่หนังศีรษะ (Discoid Lupus Erythematosus)

วันนี้หมออยากมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ โรคดีแอลอีที่หนังศีรษะ (Discoid Lupus Erythematosus) ค่ะ โรคนี้เป็นหนึ่งในกลุ่ม โรคลูปัส (Lupus) หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่ส่งผลกระทบต่อผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ ทำให้เกิด ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) และ ผมร่วงแบบมีแผลเป็น (Scarring alopecia) ที่อาจทำให้เส้นผมไม่สามารถงอกขึ้นใหม่ได้