fbpx

ผมหงอกคืออะไร ผมหงอกก่อนวัยรักษาได้หรือไม่

/
/
ผมหงอกคืออะไร ผมหงอกก่อนวัยรักษาได้หรือไม่
ผมหงอกก่อนวัยคืออะไร รักษาได้หรือไม่_1

ผมหงอก กับวัยผู้ใหญ่ที่เริ่มมีอายุก็ถือเป็นของคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร แต่ทำไมหนุ่มสาวสมัยนี้ถึงเริ่มมีผมหงอกกันไวมากกว่าแต่ก่อน เคยสงสัยกันมั้ยคะ? นั่นจึงเป็นที่มาของหัวข้อในวันนี้ ที่หมอจะยกเอาประเด็นของผมหงอกที่กวนใจใครต่อหลายคน มาขยายความและดูที่ต้นเหตุกันเลย ว่าเกิดมีสาเหตุจากอะไรและจะรักษาได้มั้ย มาเริ่มกันเลยค่ะ

ผมหงอก ผมขาว เกิดจากการที่เซลล์สร้างเม็ดสีที่บริเวณเซลล์รากผมของเราเกิดเสื่อมสภาพลง ทำให้ไม่สามารถผลิตเม็ดสี ที่เรามักคุ้นหูกันในชื่อเมลานิน (Melanin) ได้ ซึ่งเมลานินตัวนี้ไม่ได้ทำหน้าที่เคลือบเส้นผมจนกลายเป็นสีดำแต่อย่างใด แต่เป็นการแทรกตัวเข้าไปตามโปรตีนเคราตินในเส้นผม มากพอจนเกิดเป็นสีผมอย่างที่เราเห็น เมื่อเซลล์สร้างเม็ดสีไม่สามารถผลิตเม็ดสีออกมาได้ เส้นผมสีขาวหรือผมหงอกที่งอกออกมา ก็คือเส้นผมที่ไม่มีสีนั่นเองค่ะ โดยตามปกติแล้ว คนเราจะมีผมหงอกตามวัยซึ่งไม่เป็นอันตราย ที่ช่วงอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไปในชาวเอเชีย อายุ 35 ปีขึ้นไปในชาวยุโรป และที่เกิดผมหงอกช้ากว่าใครเขา ก็จะเป็นชาวแอฟริกันที่จะเริ่มมีผมหงอกเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปค่ะ

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างของเส้นผมประกอบด้วยอะไรบ้าง

ผมหงอก ผมหงอกก่อนวัย

กรรมพันธุ์

หากเป็นผมหงอกเนื่องมาจากกรรมพันธุ์ของครอบครัว ก็ถือว่าไม่เป็นอันตรายอะไร เป็นเพียงสิ่งที่ถูกกำหนดมาเช่นเดียวกันในครอบครัว แต่อาจจะส่งผลกระทบด้านความรู้สึกและความมั่นใจให้ตัวบุคคลเท่านั้น

การขาดวิตามินและสารอาหาร

กรณีนี้เกิดได้จากการที่ร่างกายขาดสารอาหารเพื่อไปหล่อเลี้ยงเซลล์ไม่เพียงพอ จนทำให้เซลล์เสื่อมสภาพลงจนไม่สามารถสร้างเม็ดสีได้ ซึ่งสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมและการสร้างเม็ดสี ได้แก่ วิตามินบี 12 ซิงค์ ธาตุเหล็ก โอเมก้า 3 ซึ่งได้จากการทานอาหารที่มีประโยชน์จำพวกเนื้อแดง ผักใบเขียว ไข่ ธัญพืชต่างๆ นม และเนื้อปลา

ความเครียด

เมื่อร่างกายเกิดความเครียดมากๆ จะมีการหลั่งฮอร์โมนนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) หรือ นอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในร่างกาย ซึ่งหากฮอร์โมนตัวนี้ทำปฏิกิริยากับรากผม ก็จะทำลายเซลล์รากผมและเซลล์สร้างเม็ดสี ทำให้เกิดเป็นผมหงอกได้ ยิ่งไปกว่านั้น ความเครียดยังส่งผลโดยตรงที่ทำให้เกิดผมร่วงผมบางรวมไปถึงหัว

การสูบบุหรี่

สารนิโคตินในบุหรี่ เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว จะส่งผลที่เกี่ยวเนื่องกับการหดตัวของเส้นเลือด และยังก่อให้เกิดการสะสมของคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้มีการอุดตันทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายได้สะดวก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเซลล์รากผมและเซลล์สร้างเม็ดสีได้อย่างเต็มที่ และเกิดเป็นผมหงอกได้ในที่สุด

สูบบุหรี่เป็นสาเหตุผมหงอก

โรคภัยต่างๆ

นอกจากนี้ ผมหงอกยังเป็นสัญญาณบอกเหตุของโรคภัยต่างๆ ได้ ซึ่งหากหมั่นสังเกตตัวเองบ่อยๆ ก็นับเป็นประโยชน์ต่อการรักษาได้ดี โดยโรคที่มักแสดงอาการเป็นผมหงอก ได้แก่

  • โรคโลหิตจาง

เมื่อเกิดภาวะเลือดจาง จะทำให้สารอาหารที่ไปหล่อเลี้ยงเซลล์รากผมนั้นมีไม่เพียงพอ จึงทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานได้ไม่เต็มที่และไม่สามารถผลิตเม็ดสีให้เส้นผมได้

  • โรคไทรอยด์ (THYROID DISORDER)

เกิดได้ทั้งกรณีไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) และไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ที่จะทำให้ฮอร์โมนต่างๆ ที่ผลิตออกมาจากต่อมไทรอยด์มากหรือน้อยกว่าปกติ จึงส่งผลกระทบที่ทำให้เกิดการสร้างเม็ดสีได้น้อยลง

  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (AUTOIMMUNE DISEASE)

โรคนี้เป็นโรคที่ร่างกายจะเข้าใจผิดว่าเซลล์ในร่างกายของตัวเองเป็นสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำอันตรายต่อร่างกาย จึงเกิดการทำลายทิ้ง จนเกิดความผิดปกติต่ออวัยวะต่างๆ รวมไปถึงเซลล์รากผมเช่นกัน เมื่อเซลล์รากผมถูกทำลาย ก็ทำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดสีได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้เกิดผมหงอกก่อนวัยได้

การรักษาผมหงอกที่ตรงจุดที่สุด คือต้องหาสาเหตุที่แท้จริงก่อนว่าผมของเราหงอกจากอะไร หากผมหงอกจากการขาดวิตามิน ก็ต้องรักษาด้วยการทานอาหารที่มีวิตามินนั้นๆ จนร่างกายไม่รู้สึกว่าขาดวิตามินแล้ว เส้นผมก็จะกลับมาดำขึ้นได้ หากผมหงอกจากโรคภัยไข้เจ็บ ก็ต้องทำการรักษาโรคดังกล่าวให้หายขาดเสียก่อน เส้นผมจึงจะซ่อมแซมตัวเองและงอกใหม่มาเป็นผมดำอีกครั้ง หรือถ้าหากหงอกเพราะความเครียด ก็ต้องหาวิธีคลายเครียดให้ร่างกายโดยด่วน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ทำในสิ่งที่ชอบ เมื่อร่างกายผ่อนคลายแล้ว เส้นผมจึงจะเป็นลำดับต่อไปค่ะ

ผมหงอกรักษาได้มั้ย

ผมหงอกเกิดจากการที่เซลล์สร้างเม็ดสี ที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) เกิดการเสื่อมสภาพลง ทำให้ไม่สามารถผลิตเม็ดสีได้มากเพียงพอ เส้นผมที่งอกออกมาจึงเป็นเพียงเส้นผมเปล่าๆ ที่ไม่มีสี โดยตามปกติแล้ว ชาวเอเชียจะมีผมหงอกตามวัยซึ่งไม่เป็นอันตรายที่ช่วงอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป แต่ถ้าหากมีผมหงอกตั้งแต่อายุไม่ถึง 20 ปี นั่นนับเป็นผมหงอกก่อนวัย โดยผมหงอกก่อนวัยนี้เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุทั้งจากกรรมพันธุ์ ความเครียด การขาดสารอาหาร การสูบบุหรี่ รวมไปถึงโรคต่างๆ ที่แสดงออกมา

วิธีรักษาผมหงอกนั้นสามารถรักษาได้จากสาเหตุบางอย่างเท่านั้น และควรจะเป็นการรักษาที่ตรงจุด เช่น หากผมหงอกจากการขาดสารอาหาร ก็ต้องรักษาด้วยการรับเอาสารอาหารเข้าไปให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ใช้เซรั่มบำรุงหนังศีรษะเพื่อเพิ่มสารอาหารให้แก่รากผม หากผมหงอกเพราะโรคร้าย ต้องรักษาโรคนั้นให้หายขาดเสียก่อน แต่ในกรณีที่ผมหงอกจากกรรมพันธุ์ ถือเป็นกรณีที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะทำได้เพียงการปกปิดด้วยการย้อมสีผมปิดเท่านั้นค่ะ

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผมเสีย เกิดจากอะไร เจาะลึกสาเหตุและเคล็ดลับฟื้นฟูผมเสีย
Prima Tossaborvorn

ผมเสียเกิดจากอะไร เจาะลึกสาเหตุและเคล็ดลับฟื้นฟูผมเสีย

ผมเสีย หรือผมแห้งเสีย แม้ว่าจะเป็นปัญหาเล็กๆ แต่ก็มักจะส่งผลต่อความมั่นใจอยู่เสมอเลยล่ะค่ะ ยิ่งคนที่มีปัญหาผมเสียมากหรือมีปัญหาผมแห้งเสียอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งทำให้การจัดแต่งทรงเป็นเรื่องยากจนกลายเป็นคนที่มีข้อจำกัดของการเลือกทรงผมได้ วันนี้หมออยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับปัญหาผมเสีย และวิธีแก้ผมเสียที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองจากที่บ้านกันค่ะ

สิวที่หัว เกิดจากอะไร
Prima Tossaborvorn

สิวที่หัว เกิดจากอะไร สาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาให้ได้ผล

สิวที่หัว อาจฟังดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ถ้าใครเคยเจอก็คงอดหงุดหงิดไม่ได้ใช่ไหมล่ะคะ เพราะทั้งคัน ทั้งเจ็บ และทำให้ไม่สบายตัวได้ไม่น้อยเลย ซึ่งสาเหตุของสิวบนหนังศีรษะไม่ได้เกิดจากความสกปรกอย่างเดียวแบบที่หลายๆ คนเข้าใจ แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น การอุดตันของรูขุมขน ฮอร์โมน หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม วันนี้หมอจะพามาเจาะลึกถึง สาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาสิวที่หัว เพื่อช่วยให้คุณดูแลหนังศีรษะได้อย่างมั่นใจค่ะ

โรคดีแอลอีที่หนังศีรษะ
Prima Tossaborvorn

รู้จักกับ โรคดีแอลอีที่หนังศีรษะ (Discoid Lupus Erythematosus)

วันนี้หมออยากมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ โรคดีแอลอีที่หนังศีรษะ (Discoid Lupus Erythematosus) ค่ะ โรคนี้เป็นหนึ่งในกลุ่ม โรคลูปัส (Lupus) หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่ส่งผลกระทบต่อผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ ทำให้เกิด ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) และ ผมร่วงแบบมีแผลเป็น (Scarring alopecia) ที่อาจทำให้เส้นผมไม่สามารถงอกขึ้นใหม่ได้