หัวล้าน รักษาด้วยยาหรือควรปลูกผม

หัวล้าน รักษาด้วยยาหรือควรปลูกผม_1

หัวล้านทำไงดี

ก่อนอื่นอย่างที่หมอแนะนำและคอยบอกอยู่เสมอๆ นะคะว่าอย่าปล่อยให้ปัญหาเส้นผมบานปลายจนหัวล้าน ให้เริ่มสังเกตุตัวเองว่าผมร่วงในแต่ละวันอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติหรือไม่ ถ้าเริ่มเห็นว่ามีความผิดปกติของอาการผมร่วงจนเริ่มผมบาง และกำลังจะเข้าสู่ภาวะหัวล้านให้รีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้รักษาเส้นผมของเราเอาไว้ได้ทันเวลาค่ะ ส่วนที่หลายคนยังสับสนและไม่แน่ใจว่าปัญหาหัวล้านตกลงควรรักษาด้วยยาหรือปลูกผมเลยดี วันนี้มาหาคำตอบกันค่ะ

  • หัวล้านแบบหน้าผากเถิกกว้าง ตรงกลางศีรษะและด้านหลังหนาปกติ
หัวล้าน รักษาด้วยยาหรือควรปลูกผม 2

ในกรณีแบบนี้ต้องปลูกผมเพื่อทำการลดขนาดหน้าผากให้แคบลงเท่านั้นค่ะ ไม่สามารถรักษาด้วยยาได้ เนื่องจากบริเวณหน้าผากที่กว้างเถิกออกไปไม่มีรากผมอยู่ โดยการสร้างแนวผมใหม่หรือลดระดับแนวผมให้ต่ำลงมาต้องใช้วิธีการปลูกผมเท่านั้นค่ะ

  • หัวล้านแบบหน้าผากเถิกกว้าง ตรงกลางศีรษะมีลักษณะบางและมีอาการผมร่วงร่วมด้วย แต่ด้านหลังหนาปกติ
หัวล้าน รักษาด้วยยาหรือควรปลูกผม 3

กรณีนี้หากคนไข้อยากลดขนาดหน้าผากต้องปลูกผมค่ะ คล้ายกันกับกรณีแรก ส่วนตรงกลางศีรษะหมอจะแนะนำให้รักษาด้วยยาก่อนยังไม่ต้องปลูกผม ซึ่งยังมีโอกาสที่ผมบริเวณตรงกลางศีรษะที่แค่บางลงจะกลับมาหนาขึ้นได้ด้วยยาค่ะ

  • หัวล้านแบบหน้าผากเถิกกว้างไปจนถึงกลางศีรษะ แต่ด้านหลังหนาปกติ
หัวล้าน รักษาด้วยยาหรือควรปลูกผม 4

ถ้าหมอตรวจดูแล้วว่าด้านหน้าและตรงกลางไม่มีรากผมเหลืออยู่แล้ว แบบนี้ต้องรักษาด้วยการปลูกผมเท่านั้นค่ะ แต่ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณหัวล้านค่อนข้างกว้าง หมอก็จะต้องเช็คผมด้านหลังของคนไข้ก่อนด้วยว่ามีเพียงพอกับพื้นที่หัวล้านหรือไม่ ในบางกรณีที่คนไข้ต้องใช้จำนวนกราฟท์มากๆ หมอจะแนะนำให้ใช้ 2 เทคนิคการปลูกผมร่วมกันคือ FUT+FUE เพื่อให้ได้จำนวนกราฟท์ที่มากพอในการปลูกในบริเวณที่มีปัญหาค่ะ

หัวล้านแบบทั่วๆ ทั้งศีรษะและด้านหลังบาง

หัวล้าน รักษาด้วยยาหรือควรปลูกผม 5

ในกรณีแบบนี้หมอจะไม่แนะนำให้รักษาด้วยการปลูกผมนะคะ เนื่องจากบริเวณหัวล้านกว้างทั่วทั้งศีรษะ ถึงแม้จะยังมีรากผมอยู่บางๆ แต่บริเวณผมด้านหลังเหลือน้อย ถ้าปลูกผมไปก็จะยิ่งดูบางเข้าไปอีกเพราะจำนวนกราฟท์ผมที่ต้องใช้เพื่อนำมาปลูกเป็นจำนวนมาก ซึ่งผมด้านหลังของคนไข้ลักษณะนี้ไม่เพียงพออยู่แล้ว ดังนั้นหมอจะแนะนำให้คนไข้รักษาด้วยยาและทรีทเมนต์ต่างๆ ควบคู่กันไปก่อนเพื่อให้บริเวณที่ยังพอมีรากผมหนาขึ้นค่ะ ผลลัพธ์สุดท้ายของการรักษาด้วยยาและทรีทเมนต์ต่างๆ นี้จะอยู่ที่ระยะเวลาประมาณ 1 ปี พอครบปีแล้วหากบริเวณหัวล้านของคนไข้แคบลงก็ค่อยมาปลูกผมก็ยังไม่สายค่ะ

พอเข้าใจคอนเซ็ปท์ของการปลูกผมบ้างหรือยังคะว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่ทุกคนที่มีปัญหาภาวะหัวล้านจะสามารถปลูกผมได้ เพราะการปลูกผมคือการย้ายที่เส้นผมจากด้านหลังศีรษะมาปลูกบริเวณที่มีปัญหา ไม่ใช่การเพิ่มจำนวนเส้นผมบนศีรษะของเรา ดังนั้นหากใครที่ยังไม่มั่นใจว่าตัวเองเหมาะกับการรักษาแบบใดหมอแนะนำให้ไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเลยดีกว่านะคะ จะได้เริ่มการรักษาแบบถูกทาง

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณหมอพรีมาเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25
ข่าวสาร
Prima Tossaborvorn

คุณหมอพรีมาเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25 จัดขึ้นที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็ค

หมอพรีมาได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25 จัดขึ้นที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็ค ซึ่งเป็นงานประชุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกเกี่ยวกับศัลยกรรมปลูกผม ที่นี่นับว่าเป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากทั่วโลกที่มาเสนอผลงานวิจัยใหม่ล่าสุดและแบ่งปันความรู้ทางวิชาการในวงการนี้

ปลูกผม DHI
บทความ
Prima Tossaborvorn

ความเข้าใจผิดระหว่างวิธีปลูกผม DHI กับ FUE

หมอได้ยินคำถามจากคนไข้ต่างชาติว่าวิธีปลูกผมด้วยเทคนิค DHI ดีกว่า วิธีปลูกผม FUE ยังไง คำถามนี้แอบทำให้หมอรู้สึกประหลาดใจเล็กน้อย เนื่องจากด้วยกลยุทธ์โฆษณาในปัจจุบัน บ่อยครั้งมันทำให้คนไข้เริ่มเข้าใจผิด หมออยากเขียนอธิบายเกี่ยวกับวิธีปลูกผม DHI และวิธีปลูกผม FUE ดังนี้ค่ะ

ช่องเสือร้องไห้ YOUTUBER ชื่อดัง เลือกเข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ HAIRSMITH CLINIC_1
บทความ
Prima Tossaborvorn

ช่องเสือร้องไห้ ยูทูปเบอร์ชื่อดัง เลือกเข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ Hairsmith Clinic

เมื่อช่องเสือร้องไห้ มีผู้ติดตามบนยูทูปกว่า 3 ล้านคน เข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ Hairsmith Clinic พบกับความสนุกสนานพร้อมสอดแทรกสาระความรู้การปลูกผม และสาระน่ารู้เกี่ยวกับเส้นผม

ปลูกผมแบบ NON-SHAVEN FUE กับ FUE ต่างกันอย่างไร_1
บทความ
Prima Tossaborvorn

ปลูกผมแบบ NON-SHAVEN FUE กับ FUE ต่างกันอย่างไร

เข้าใจลึกซึ้งในการเปรียบเทียบระหว่างการปลูกผมแบบ Non-Shaven FUE และ FUE ทั่วไป ทำความเข้าใจในข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธี, รวมถึงการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด หาคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการเลือกระหว่างวิธีการปลูกผมแบบ Non-Shaven FUE หรือ FUE ทั่วไป ทำให้การตัดสินใจของคุณเป็นไปอย่างมีข้อมูลและมั่นใจ.