ผมร่วงก่อนวัย สาเหตุเกิดจากอะไรและวิธีป้องกัน

ผมร่วงก่อนวัย สาเหตุเกิดจากอะไรและวิธีป้องกัน_1

ดูเหมือนว่าปัญหาผมร่วง จะไม่ได้เป็นแค่เพียงปัญหาของชาว สว. สูงวัยกันอีกต่อไปแล้ว เพราะมีหนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยเลยที่กำลังกังวลกับปัญหาเหล่านี้ แล้วในเมื่อผมร่วงไม่เกี่ยวกับอายุหรือช่วงวัย แล้วอะไรคือสาเหตุของปัญหาผมร่วงเจ้ากรรมนี้กันล่ะ วันนี้หมอมีข้อมูลดีๆ มาฝากกัน ก่อนที่ผมร่วงที่น่ารำคาญ จะกลายเป็นปัญหาหัวล้านแบบไม่รู้ตัว

ผมร่วงแบบไหนถึงเรียกว่าปกติ?

โดยปกติทั่วไปแล้วเส้นผมของเราสามารถหลุดร่วงได้ประมาณ 100 เส้นต่อวัน และอาจมากถึง 200 เส้น ในวันที่สระผมเลยล่ะค่ะ นั่นก็เพราะการที่ผมร่วงนั้นเป็นหนึ่งในวงจรชีวิตตามปกติของเส้นผม แต่ถ้าช่วงไหนเกินกว่านั้นเมื่อไหร่ ก็เป็นไปได้ว่าเส้นผมของเรานั้น เริ่มอ่อนแอเข้าให้แล้ว

ผมร่วงจากกรรมพันธุ์

เชื่อมั้ยคะว่าปัญหาผมร่วงผมบางนั้น แทบจะร้อยละ 70-80% เกิดมาจากกรรมพันธุ์ในครอบครัว ที่ไม่ว่าเราจะดูแลเส้นผมอย่างดีแค่ไหน แต่ก็ไม่อาจต้านทานพลังอำนาจแห่งพันธุกรรมได้ ซึ่งส่วนมากมักพบในเพศชาย แต่ก็เกิดขึ้นในเพศหญิงได้เช่นกัน โดยจะแตกต่างกันตรงรูปแบบของพื้นที่หลุดร่วง

สาเหตุ

เกิดจากการถ่ายทอดยีนเด่นบนโครโมโซมร่างกาย ทำให้หนังศีรษะมีความไวต่อฮอร์โมน Dihydrotestosterone (DHT) ส่งผลให้เส้นผมลีบแบน อายุสั้น และขาดหลุดร่วงได้ง่ายกว่าปกติ โดยจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่อายุตั้งแต่ 18-25 ปี

วิธีรักษา

หากเป็นในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาได้ด้วยการกินยา หรือทายาเฉพาะจุดได้หากผมร่วงเยอะจนบางพื้นที่เริ่มบางค่ะ และการรักษาสำหรับผู้ที่ผมร่วงเยอะจนเริ่มกลายเป็นคนหัวล้านแล้ว ก็สามารถรักษาได้ด้วยการปลูกผมถาวร

ผมร่วงจากฮอร์โมน

นอกจากกรรมพันธุ์ที่ทำให้มีความไวต่อฮอร์โมนบางตัวแล้ว ในคุณแม่หลังคลอดก็สามารถพบปัญหาผมร่วงได้เช่นกัน ซึ่งอาการผมร่วงหลังคลอดนี้มักแสดงอาการหลังจากคลอดแล้วประมาณ 3-4 เดือน

ผมร่วงก่อนวัย สาเหตุเกิดจากอะไรและวิธีป้องกัน_2

สาเหตุ

เกิดจากเมื่อเราตั้งครรภ์ ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) มากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนนี่เอง ที่ทำให้เส้นผมร่วงน้อยลงและดูมีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว ร่างกายจึงลดการผลิตฮอร์โมนดังกล่าวลงมาเป็นปกติ ผมจึงกลับมาร่วงเหมือนตอนก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่หลายคนจึงตกใจไม่น้อยนั่นเอง

วิธีรักษา

ผมร่วงหลังคลอดนั้นไม่เป็นอันตราย ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อีกอย่างผมที่ร่วงไปนั้นก็มีปริมาณเพียง 5-15% ของเส้นผมของเราเท่านั้น และจะกลับมาเป็นปกติในช่วง 6 เดือนหลังคลอด แต่ถ้าใครผมยังร่วงเยอะต่อเนื่อง ก็สามารถเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงได้เลยค่ะ

ผมร่วงจากโรคภัยต่างๆ

นอกจากนี้แล้ว ผมที่ร่วงออกมานั้น ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเราอาจจะกำลังเป็นโรคบางอย่างอยู่ได้ โดยหมอขอยกตัวอย่างดังนี้

  • โรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง – เป็นโรคที่ภูมิคุ้นกันจะทำลายตัวเอง ทำให้ผมร่วงทั่วศีรษะและมักมีแผลที่ศีรษะร่วมด้วย
  • โรคเรื้อรัง เช่น โรคซิฟิลิส โรคตับ โรคไต – เป็นโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง ทำให้สารอาหารที่มี ไม่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงเส้นผมเอาไว้ได้ เส้นผมจึงอ่อนแอและหลุดร่วงไปนั่นเอง
  • โรคโลหิตจาง – ทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็กที่เป็นอีกหนึ่งสารอาหารสำคัญของเส้นผม ทำให้เส้นผมหลุดร่วงในที่สุด

วิธีรักษา

อันดับแรก ต้องพบแพทย์เพื่อรักษาโรคต่างๆ ที่เป็นอยู่เพื่อให้หายเสียก่อน เพราะหากเรามุ่งไปที่การรักษาผมร่วงเพียงอย่างเดียว ก็เป็นเหมือนการรักษาที่ปลายเหตุ ซึ่งจะทำให้คนไข้กลับมาผมร่วงได้อีก

ผมร่วงจากพฤติกรรม

อีกสิ่งที่คนเรามักคาดไม่ถึงของสาเหตุผมร่วง นั่นคือการที่พฤติกรรมหรือนิสัยที่เราไม่รู้ตัวนี่แหละค่ะ ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ผมร่วงได้ เริ่มต้นด้วยการจัดแต่งทรงผม ไม่ว่าจะด้วยความร้อนหรือสารเคมี ก็ล้วนเป็นตัวการในการทำลายผมทั้งสิ้น รวมไปถึงการมัดผมรวบตึงจนเกิดไป ส่งผลให้รากผมของเราอ่อนแอจนไม่มีแรงมากพอที่จะยึดเส้นผมของเราเอาไว้ รวมไปถึงการสระผมที่ไม่สะอาด ไม่ถูกวิธี และการหวีผมในขณะผมเปียกด้วยเช่นกัน

ผมร่วงก่อนวัย สาเหตุเกิดจากอะไรและวิธีป้องกัน_3

สรุป

ผมร่วงก่อนวัยนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะด้วยกรรมพันธุ์ ฮอร์โมน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมไปถึงพฤติกรรมที่เรามักเผลอทำร้ายเส้นผมอย่างไม่รู้ตัว ทั้งนี้สิ่งที่เราควรทำที่สุดคือการหมั่นสังเกตตัวเองและเส้นผมอยู่เสมอ อย่ารอให้อาการเลยเถิดจากแค่ผมร่วงวันละ 100 เส้นธรรมดาๆ ต้องกลายมาเป็นโรคที่ร้ายแรง หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องกลายเป็นคนหัวล้านก่อนวัยอันควรเลยค่ะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณหมอพรีมาเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25
ข่าวสาร
Prima Tossaborvorn

คุณหมอพรีมาเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25 จัดขึ้นที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็ค

หมอพรีมาได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25 จัดขึ้นที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็ค ซึ่งเป็นงานประชุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกเกี่ยวกับศัลยกรรมปลูกผม ที่นี่นับว่าเป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากทั่วโลกที่มาเสนอผลงานวิจัยใหม่ล่าสุดและแบ่งปันความรู้ทางวิชาการในวงการนี้

ปลูกผม DHI
บทความ
Prima Tossaborvorn

ความเข้าใจผิดระหว่างวิธีปลูกผม DHI กับ FUE

หมอได้ยินคำถามจากคนไข้ต่างชาติว่าวิธีปลูกผมด้วยเทคนิค DHI ดีกว่า วิธีปลูกผม FUE ยังไง คำถามนี้แอบทำให้หมอรู้สึกประหลาดใจเล็กน้อย เนื่องจากด้วยกลยุทธ์โฆษณาในปัจจุบัน บ่อยครั้งมันทำให้คนไข้เริ่มเข้าใจผิด หมออยากเขียนอธิบายเกี่ยวกับวิธีปลูกผม DHI และวิธีปลูกผม FUE ดังนี้ค่ะ

ช่องเสือร้องไห้ YOUTUBER ชื่อดัง เลือกเข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ HAIRSMITH CLINIC_1
บทความ
Prima Tossaborvorn

ช่องเสือร้องไห้ ยูทูปเบอร์ชื่อดัง เลือกเข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ Hairsmith Clinic

เมื่อช่องเสือร้องไห้ มีผู้ติดตามบนยูทูปกว่า 3 ล้านคน เข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ Hairsmith Clinic พบกับความสนุกสนานพร้อมสอดแทรกสาระความรู้การปลูกผม และสาระน่ารู้เกี่ยวกับเส้นผม

ปลูกผมแบบ NON-SHAVEN FUE กับ FUE ต่างกันอย่างไร_1
บทความ
Prima Tossaborvorn

ปลูกผมแบบ NON-SHAVEN FUE กับ FUE ต่างกันอย่างไร

เข้าใจลึกซึ้งในการเปรียบเทียบระหว่างการปลูกผมแบบ Non-Shaven FUE และ FUE ทั่วไป ทำความเข้าใจในข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธี, รวมถึงการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด หาคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการเลือกระหว่างวิธีการปลูกผมแบบ Non-Shaven FUE หรือ FUE ทั่วไป ทำให้การตัดสินใจของคุณเป็นไปอย่างมีข้อมูลและมั่นใจ.