4 สิ่งนี้ที่คนปลูกผมไม่อยากเจอ

4 สิ่งนี้ที่คนปลูกผมไม่อยากเจอ_1

หากยังจำกันได้ ในบทความก่อนๆ คุณหมอเคยพูดถึงเรื่องการปลูกผมกับคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐานไป โดยจากสาเหตุนั้นเองที่ทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยเลยต้องหนักใจกับปัญหาที่อาจตามมาหลังการปลูกได้ ซึ่งถ้าหากปัญหาที่ว่ามันเป็นอาการข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติก็แล้วไป แต่ถ้าเป็นปัญหาใหญ่ที่มีแนวโน้มจะต้องหาคลินิกอื่นเพื่อปลูกผมแก้ ก็คงไม่ใช่เรื่องเล็กแล้วแน่ๆ วันนี้เราจึงมัดรวมปัญหาใหญ่หลังการปลูกผม ที่เชื่อว่าถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากเจอมาฝากไว้เป็นวิทยาทานกัน

ปลูกผมไม่ขึ้น

การปลูกผมไม่ติดหรือปลูกผมแล้วผมไม่ขึ้น นับเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในการปลูกผมเลยก็ว่าได้ นั่นเกิดได้จากหลายสาเหตุมาก ตั้งแต่สาเหตุที่ตัวคนไข้เอง เช่น โรคบางชนิดที่ไม่ได้รักษาด้วยการปลูกผมสาเหตุที่ทำให้ผมไม่ขึ้นนั้นคืออะไร อาจมาจากการปลูกผมโดยคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน การปลูกผมโดยแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญมากพอ หรือในกรณีที่แย่ที่สุดอาจเป็นการปลูกผมโดยบุคลากรที่ไม่ใช่แพทย์เลยด้วยซ้ำ แค่เพียงเพราะต้องการลดต้นทุนและราคาเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ สำหรับการหาแนวทางการแก้ปัญหาปลูกผมไม่ติดนั้นเบื้องต้นจะต้องเข้าไปพบแพทย์เพื่อประเมินว่าสามารถปลูกผมแก้ได้หรือไม่ เนื่องจากเส้นผมจาก Donor area ของแต่ละคนมีปริมาณที่จำกัด ทำให้อาจไม่เพียงพอต่อการย้ายมาปลูกในบริเวณที่กังวลได้ นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณา

4 สิ่งนี้ที่คนปลูกผมไม่อยากเจอ_2

ปลูกผมแล้วผมขึ้นผิดทิศทาง

ในกรณีนี้ถ้าเรามองดูแบบเผินๆ อาจจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างมากนัก แต่ถ้าลองสังเกตดูดีๆ จะพบว่าเส้นผมแต่ละกอที่ปลูกในพื้นที่เดียวกันดูตั้งไม่เป็นไปในทิศทางและองศาเดียวกับผมเส้นอื่นที่อยู่บริเวณข้างเคียง หากเป็นพื้นที่ด้านในก็ยังอาจจะพออาศัยการจัดแต่งทรงผมช่วยได้ ซึ่งก็เป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว เพราะไม่สามารถทำให้ทิศทางของเส้นผมเปลี่ยนกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อยู่ดี แต่หากเป็นบริเวณแนวแฮร์ไลน์ก็คงจะเห็นได้ชัดและปกปิดได้ยาก วิธีการแก้ไขที่ตรงจุดที่สุดก็คือต้องเจาะเอากราฟท์ผมออกแล้วปลูกเข้าไปใหม่เท่านั้น

4 สิ่งนี้ที่คนปลูกผมไม่อยากเจอ_3

ปลูกผมแล้วแต่ก็ยังบางอยู่

การที่ปลูกผมไปอาจเกิดจากผมปลูกไม่ติดทั้งหมด หรือเกิดจากความผิดพลาดในการปลูกกระจายกราฟท์ผมของแพทย์ หรือการปลูกผมบางจุดน้อยเกินไปและไปกระจุกตัวอยู่ที่พื้นที่ส่วนอื่นมากเกินไป เมื่อความหนาแน่นของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ก็ทำให้รู้สึกว่าผมยังบางอยู่แม้ว่าจะครบระยะเวลาที่ผมโตเต็มที่แล้วนั่นเอง หากใครกำลังประสบปัญหาข้อนี้อยู่ การปลูกผมเพิ่มเพื่อแทรกตามจุดที่บางดูจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่มีข้อแม้ว่าก่อนที่จะปลูกเติมก็ควรรอให้ผมที่ปลูกไปรอบแรกงอกขึ้นมาอย่างเต็มที่เสียก่อน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่ง ทางที่ดีเราควรเลือกคลินิกที่การันตีคุณภาพผลงานตั้งแต่ในรอบแรกจะเป็นผลดีกว่า

4 สิ่งนี้ที่คนปลูกผมไม่อยากเจอ_4

ปลูกแนวผมไม่เป็นธรรมชาติ

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่เป็นตัววัดฝีมือของแพทย์ปลูกผม นั่นก็คือการออกแบบแนวผมที่สวยงามเป็นธรรมชาติ ดูไม่แข็งทื่อ ไม่หลอกตา แต่ก็มีหลายครั้งที่คนไข้บางคนต้องเจอกับปัญหาแนวผมที่พยายามทำให้ “ดูเป็นธรรมชาติ” เกินไปจนดูหลอกตา หรือไม่ก็แนวผมที่เป็นทรงตรงเกินไปบ้าง โค้งเกินไปบ้างก็มี หากใครกำลังเจอปัญหานี้อยู่ การปลูกผมแก้อาจเป็นทางเดียวที่ทำให้คุณได้แนวผมสวยๆ กลับมาอีกครั้ง

4 สิ่งนี้ที่คนปลูกผมไม่อยากเจอ_5

หากเป็นเรื่องของอาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการปลูกผม เช่น สิว อาการบวม ชา ฯลฯ ก็ยังสามารถดูแลตามอาการเพื่อช่วยบรรเทาไปได้ แต่ถ้าเป็นความผิดพลาดจากการปลูกผม 4 ข้อที่ได้กล่าวไปข้างต้น ก็อาจจำเป็นต้องปลูกผมใหม่เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ตรงจุด แถมการแก้ปัญหาด้วยการปลูกผมใหม่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ เพราะข้อจำกัดในเรื่องของความหนาแน่นบริเวณ Donor area ที่ถ้าฝืนเจาะกราฟท์ผมออกมามากเกินไป ก็จะทำให้กลายเป็นปัญหาผมบางถาวรได้เลย ทางที่ดีใครที่กำลังกังวลใจอยู่ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะดีที่สุด

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการหลีกเลี่ยงปัญหาก็คือ การไม่พาตัวเองเข้าไปอยู่ในความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

ดังนั้นการเลือกคลินิกปลูกผมที่มีทีมแพทย์คุณภาพและมีฝีมือ ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลก็ถือเป็นตัวชี้วัดความปลอดภัยได้พอสมควร

แต่ในส่วนของตัวเราเองก็ควรศึกษารายละเอียดของคลินิกนั้นๆ ให้ดีเสียก่อน รวมไปถึงการดูรีวิวผลลัพธ์หลังการปลูกผมช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีขึ้นไป เท่านี้ก็วางใจได้แล้วว่าปัญหาที่ว่าจะไม่เกิดขึ้นกับตัวคุณ

4 สิ่งนี้ที่คนปลูกผมไม่อยากเจอ_5

ปัญหาใหญ่ที่คนปลูกผม สามารถเจอได้จากการเลือกคลินิกปลูกผมที่ไม่ได้มาตรฐาน ได้แก่ ปัญหาปลูกผมไม่ติด ทิศทางของเส้นผมไม่เป็นธรรมชาติ ปลูกผมแล้วแต่ผมก็ยังบางอยู่ และการกำหนดแนวผมที่ไม่เป็นธรรมชาติ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยการปลูกผมแก้ใหม่เท่านั้น หากใครที่กำลังตัดสินใจเรื่องปลูกผมอยู่ ควรศึกษาข้อมูลคลินิกที่ตัวเองสนใจให้ดีเสียก่อน เพื่อที่เราจะได้ไม่กลายเป็นหนึ่งในคนที่ต้องเสียเงิน เสียเวลา เจ็บตัวหลายครั้ง เพื่อปลูกผมแก้อีกครั้งนั่นเอง

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณหมอพรีมาเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25
ข่าวสาร
Prima Tossaborvorn

คุณหมอพรีมาเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25 จัดขึ้นที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็ค

หมอพรีมาได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุม World Congress ครั้งที่ 25 จัดขึ้นที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็ค ซึ่งเป็นงานประชุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกเกี่ยวกับศัลยกรรมปลูกผม ที่นี่นับว่าเป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากทั่วโลกที่มาเสนอผลงานวิจัยใหม่ล่าสุดและแบ่งปันความรู้ทางวิชาการในวงการนี้

ปลูกผม DHI
บทความ
Prima Tossaborvorn

ความเข้าใจผิดระหว่างวิธีปลูกผม DHI กับ FUE

หมอได้ยินคำถามจากคนไข้ต่างชาติว่าวิธีปลูกผมด้วยเทคนิค DHI ดีกว่า วิธีปลูกผม FUE ยังไง คำถามนี้แอบทำให้หมอรู้สึกประหลาดใจเล็กน้อย เนื่องจากด้วยกลยุทธ์โฆษณาในปัจจุบัน บ่อยครั้งมันทำให้คนไข้เริ่มเข้าใจผิด หมออยากเขียนอธิบายเกี่ยวกับวิธีปลูกผม DHI และวิธีปลูกผม FUE ดังนี้ค่ะ

ช่องเสือร้องไห้ YOUTUBER ชื่อดัง เลือกเข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ HAIRSMITH CLINIC_1
บทความ
Prima Tossaborvorn

ช่องเสือร้องไห้ ยูทูปเบอร์ชื่อดัง เลือกเข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ Hairsmith Clinic

เมื่อช่องเสือร้องไห้ มีผู้ติดตามบนยูทูปกว่า 3 ล้านคน เข้ามาปรึกษาสุขภาพเส้นผมที่ Hairsmith Clinic พบกับความสนุกสนานพร้อมสอดแทรกสาระความรู้การปลูกผม และสาระน่ารู้เกี่ยวกับเส้นผม

ปลูกผมแบบ NON-SHAVEN FUE กับ FUE ต่างกันอย่างไร_1
บทความ
Prima Tossaborvorn

ปลูกผมแบบ NON-SHAVEN FUE กับ FUE ต่างกันอย่างไร

เข้าใจลึกซึ้งในการเปรียบเทียบระหว่างการปลูกผมแบบ Non-Shaven FUE และ FUE ทั่วไป ทำความเข้าใจในข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธี, รวมถึงการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด หาคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการเลือกระหว่างวิธีการปลูกผมแบบ Non-Shaven FUE หรือ FUE ทั่วไป ทำให้การตัดสินใจของคุณเป็นไปอย่างมีข้อมูลและมั่นใจ.